ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสตูล ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

Main Article Content

นูไรนี เศรษฐสุข
โสภนา สุดสมบูรณ์
เก็จกนก เอื้อวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสตูล 2) ระดับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ และ 4) ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูและผู้ดูแลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสตูล จำนวน 184 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามขนาดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติในระดับปานกลางถึงสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. วัฒนธรรมองค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ลักษณะโครงสร้างองค์กร และภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารส่งผลต่อการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ โดยทั้ง 4 ปัจจัยร่วมกันทำนายการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ร้อยละ 65.1

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กุสุมา ศรีละพันธ์. (2555). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดฉะเชิงเทรา. (การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ขวัญใจ สุดรัก. (2553). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน ตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ทรรศนกร สงครินทร์. (2558). ปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 5(3), 53-61.

เบญจมาภรณ์ เครือสุวรรณ. (2557). วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัญฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยุทธศักดิ์ ไชยสีหา. (2556). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(1), 140-150.

ยุวดี ประทุม. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สรคุปต์ บุญเกษม. (2560). ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1), 217-230.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: พริกหวาน.

Chanly, Hong. (2016). Administrative factors affecting the effectiveness of secondary schools in the PrasatSombor district Kampong Thom Province Cambodia. (Master of Education). Chachoengsao: Rajabhat Rajanagarindra University.