การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของสำนักศาสนศึกษาวัดหนองกุง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

พระมหาพีระวัฒน์ ภูริวฑฺฒโน มะณีภักดี
ประยูร แสงใส
นิรัช เรืองแสน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ของสำนักศาสนศึกษาวัดหนองกุง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น และ 2) วิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ของสำนักศาสนศึกษาวัดหนองกุง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน จำนวน 22 รูป
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ของสำนักเรียนวัดหนองกุง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สำนักศาสนศึกษาวัดหนองกุง ด้านบริหาร/จัดการ มีเจ้าอาวาส/ผู้ช่วยเจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่ เป็นผู้จัดการศึกษา ครูผู้สอน เป็นเปรียญธรรม 3-6 ประโยค หลักสูตร ตามสนามหลวงแผนกบาลี กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตอบปัญหาและอบรมก่อนสอบ ผู้เรียน เป็นสามเณรที่มีจำนวนลดลงทุกปี งบประมาณ อุดหนุนจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตามความเหมาะสม การวัดผลและประเมินผล ปีละครั้งโดยสนามหลวงแผนกบาลี
2. การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในทัศนะของผู้บริหาร ต่างก็มีความพอใจในการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มีความมุ่งมั่นและความอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบต่อการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มีการใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงให้ดีขึ้น กลุ่มครูผู้สอน แต่ละท่านมีความศรัทธาต่อหน้าที่ในการสอน ขยันหมั่นเพียรและรับผิดชอบต่อหน้าที่ในการสอน มีความเอาใจใส่ และสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน และมีความพินิจพิจารณาปัญหาในการสอน กลุ่มผู้เรียน ต้องมีใจรักและเป้าหมายที่จะเรียนให้ประสบผลสำเร็จ ต้องเรียนด้วยความเต็มใจ ความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ในเรื่องนั้น ต้องมีความตั้งใจ ในการเรียนมากกว่าสิ่งอื่นใด และต้องทบทวนจุดเด่นและข้อด้อยของตน และคิดหาวิธีปรับปรุงข้อบกพร่องของตนเองตามหลักอิทธิบาท 4

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมการศาสนา. (2539). ข้อมูลจากการตรวจการคณะสงฆ์ของเจ้าคณะภาค 4 ประจำปี 2538. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

นภมณฑล สิบหมื่นเปี่ยม และวลัยพร ศิริภิรมย์. (2545). แนวทางการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กลุ่มศาสนาและการเรียนรู้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ประยูร แสงใส. (2559). การบริการสำนักเรียนพระปริยัติธรรมวัดโมลีโลกยารามกับสัมฤทธิ์ผลของการจัดการศึกษาภาษาบาลี. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 4 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษา: พันธกิจทางสังคมและการเมือง, 7 ตุลาคม 2559, (หน้า 209-211). ขอนแก่น: วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย.

พระปริยัติสุนทร (โอภาส โอภาโส). (2546). การจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี: ทำอย่างไรจึงประสบผลสำเร็จ กรณีวัดจองคำ อำเภองาว จังหวัดลำปาง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พระมหาสุธรรม สุรตโน (แก้วเคน). (2560). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีสู่ความเป็นเลิศ. วารสารนิตยสารเสียงธรรมจากมหายาน, 7(13), 35-46.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สถิต รัชปัตย์. (2548). การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการเล่าเรียนของนักศึกษาคฤหัสถ์. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.