การจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนาตามหลักอิทธิบาท 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

พระทินกร ฐิตปุญโญ
ปาณจิตร สุกุมาลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ย อายุและระดับชั้นการเรียนต่างกัน  3) เสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนาตามหลักอิทธิบาท 4 รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 289 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 165 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย กลุ่มเป้าหมายผู้บริหารและครูผู้สอนจากโรงเรียน 9 แห่ง 18 คน โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตาราง Krejcie & Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ t-test และ F-test (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการการจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนาตามหลักอิทธิบาท 4 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X̅= 4.04) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน  เรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านฉันทะ (ความพอใจ) (X̅ = 4.31) ด้านวิริยะ (ความพากเพียร) (X̅ = 4.29) ด้านวิมังสา (ความไตร่ตรอง) (X̅ = 4.00)  และด้านจิตตะ (ความคิด) (X̅ = 3.57)
2. ผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนาตามหลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ย อายุ และระดับชั้นเรียนที่ต่างกัน โดยรวมและรายด้านมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
3. ข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนาตามหลักอิทธิบาท 4 1) ฉันทะ ควรมุ่งเน้นจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักและเกิดความอยากรู้อยากเรียน 2) วิริยะ ควรมุ่งเน้นจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายกระตุ้นผู้เรียนมีความรับผิดชอบในหน้าที่การเรียน 3) จิตตะ ควรมุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ สามารถใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหา 4) วิมังสา ควรมุ่งเน้นจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนใช้ทักษะทางปัญญา คิดไตร่ตรองเหตุและผล ประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนรู้และในชีวิตประจำวัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กองพุทธศาสนศึกษา. (2557). คู่มือการปฏิบัติงานการขออนุญาตจัดตั้งและขยายชั้นเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. นครปฐม: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

บุญชม ศรีสะอาน. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. ฉบับที่ 6 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

พระกฤษณะ วชิรญาโณ (วภักดิ์เพชร). (2560). การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุวรรณวชิรวงศ์ (ทองดีวชิรวํโส). (2560). การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ใช้ในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาบรรจง ติสรโณ (ศรีสุข). (2560). ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรม 4 ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนปริยัติคุณรสวิทยา อําเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.