การจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมือง ตามหลักอิทธิบาท 4 เชิงสร้างสรรค์ชุมชนเป็นฐาน ของนักเรียนโรงเรียนอนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • พรชัย วันทุม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • สมควร นามสีฐาน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระครูสุนทรวินัยรส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระมหาวิทวัส กตเมธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, วิชาหน้าที่พลเมือง, อิทธิบาท 4

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ 2) เปรียบเทียบ และ 3) ข้อเสนอแนะการจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมือง ตามหลักอิทธิบาท 4 เชิงสร้างสรรค์ชุมชนเป็นฐาน ของนักเรียนโรงเรียนอนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยนี้ เป็นวิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดย (Mixed methods) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 530 คน และกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 18 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. จัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมือง ตามหลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนโรงเรียนอนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากทุกข้อ เรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการใช้หลักอิทธิบาท 4 ต่อชุมชน ด้านการใช้หลักอิทธิบาท 4 ต่อการศึกษา ด้านการใช้หลักอิทธิบาท 4 ต่อโรงเรียน ด้านการใช้หลักอิทธิบาท 4 ต่อการประพฤติตนเป็นคนดี ด้านการใช้หลักอิทธิบาท 4 ครอบครัว
2. การเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมือง ตามหลักอิทธิบาท 4 เชิงสร้างสรรค์ชุมชนเป็นฐาน ของนักเรียนโรงเรียนอนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์ จำแนกตามเพศ ระดับชั้นเรียน และอาชีพของผู้ปกครอง ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาหน้าที่พลเมือง ตามหลักอิทธิบาท 4 เชิงสร้างสรรค์ชุมชนเป็นฐาน ของนักเรียนโรงเรียนอนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์ นักเรียนจะต้องมีความเพียรพยายามในการเรียน ครูจะต้องมีพัฒนาการในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการบรรยาย นักเรียนจะต้องระลึกถึงบุญคุณของบิดามารดา เคารพเชื่อฟัง รู้กาลเทศะ มีความสุภาพอ่อนโยน ทั้งทางกาย วาจา ใจ และนักเรียนจะต้อง ช่วยเหลือ และพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า

References

บัญชา ท่าทอง. (2557). ศึกษาการใช้หลักอิทธิบาท 4 พัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระจักร จกฺกวโร เหมือนปืน. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 25. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

อมรเทพ สกุขชัย. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านไผ่พิทยาคม อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)