จิตสัมบูรณ์ตามทัศนะเฮเกล

Main Article Content

พระรักเกียรติพงษ์ อินเปื่อย
จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ “จิตสัมบูรณ์” (the absolute mind) ในทัศนะของเฮเกล ซึ่งเขากล่าวว่า จิตนั้นมีลักษณะพิเศษในการพัฒนาสัญชาตญาณในตนเองโดยอิสระไร้ขอบเขตและไม่ถูกปิดกั้นในเชิงแนวคิดเพื่อให้หลุดพ้นจาก“ตรรกเหตุผล”ผ่านการสังเคราะห์ให้เกิดความรู้ใหม่เพื่อแสวงหาความจริง (truth) ไปสู่สิ่งสูงสุดได้ด้วยปัญญา เป็นกระบวนการของระบบทางความคิดเชิงตรรกศาสตร์ เชิงจิตนิยมว่าด้วยความแท้จริงของจิตใต้สำนึก (Mind or Spirit) ที่มีกระบวนการพัฒนาแนวคิดจนสูงสุดนำไปสู่ภาวะจิตสัมบูรณ์อันแท้จริง และเกิดขึ้นเป็นความรู้ (Knowledge) โดยมีลักษณะสำคัญคือความรู้ที่เป็นสากล (Universe) สามารถที่จะบังเกิดเป็นจริงได้โดยไม่จำกัดกาล (Time) และสถานที่ (Space) โดยการสังเคราะห์ (Synthesis) จากสัญชาตญาณที่มีในจิตใต้สำนึกมนุษย์
แนวคิดจิตสัมบูรณ์ของเฮเกลนั้นถือเป็นฐานแนวคิดนักปรัชญาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่เน้นจุดสำคัญทางความคิดอย่างอิสระโดยปัญญาอย่างไม่ถูกปิดกั้นทางแนวคิด เพื่อให้มนุษย์สามารถที่จะพัฒนาปัญญาได้ไปสู่สิ่งสูงสุด โดยมีรูปแบบของระบบในตรรกวิทยาของความมีเหตุผลจนบังเกิดการสังเคราะห์ความรู้ใหม่ทางปัญญา (Intellectually) อย่างสูงสุดนั่นเอง อันจะส่งผลประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์ ให้แก่ตัวมนุษย์เองและสังคมโลก

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ. (2563). อภิปรัชญา. ขอนแก่น: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตขอนแก่น.

ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2541). ประวัติศาสตร์นิยม: จาก Giambattista Vico สู่ Antonio Gramsci. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญมี แท่นแก้ว. (2541). ปรัชญา. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง.

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺจิตฺโต). (2544). ปรัชญากรีก: บ่อเกิดภูมิปรัชญาตะวันตก. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สยาม.

เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2560). ปรัชญาจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: อดุลพัฒนกิจ.

Caputo, John D. (2016). Hegel’s Critique of the Enlightenment in Truth: The Search for Wisdom in the Postmodern Age. London: Penguin.

Hegel, G. W. F. (1979). Hegel’s Phenomenology of Spirit, Translated by Miller, A. V. New York: Oxford University Press.

_______. (1964). The Phenomenology of Mind, Translated by Baillie, J. B. New York: Humanities Press.

_______. (2012). The Phenomenology of Mind, Translated by Kim, J. W. Colorado: Westview Press.

_______. (2001). Hegel’s Philosophy of Right, Translated by S.W Dyde. Ontario: Batoche Books Limited.

Lewis A. Coser. (1971). Masters of Sociological Thought: Ideas in Historical and Social Context. New York: Harcourt Brace Jovanovich.

Michael Hardt. (1993). Gilles Deleuze: an Apprenticeship in Philosophy. United States: University of Minnesota Press.

Ryff, C. D., & Singer, B. H. (2008). Know Thyself and Become What You Are: A Eudaimonic Approach to Psychological Well-Being. Journal of Happiness Studies.

Singer, Peter. (2001). Hegel: A Very Short Introduction. New York: Oxford University Press.

Yong Huang. (1996). Religious Studies. Cambridge: Cambridge University Press.