การเปรียบเทียบมนุษย์ในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาทกับฟรีดริช นิตเช่

Main Article Content

พระอธิวัฒน์ อชิโต
พระครูภาวนาโพธิคุณ
จรัส ลีกา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามนุษย์ในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท 2) ศึกษามนุษย์ในทัศนะฟรีดริช นิตเช่ 3) เปรียบเทียบมนุษย์ในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท กับฟรีดริช นิตเช่ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษาข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงรพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
1. มนุษย์ในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท มีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ รูป และนาม เรียกว่า ขันธ์ 5 คือ รูป ได้แก่ มหาภูตรูป และอุปาทายรูป ส่วนนาม มี 4 อย่างคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อรูปและนามรวมกันจึงจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์โดยมีพระนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุด
2. มนุษย์ในทัศนะฟรีดริช นิตเช่ มนุษย์เป็นผู้ที่รู้จักการพัฒนาตนเอง ด้วยแนวคิดเจตจำนงแห่งอำนาจ 3 ระดับ คือ ระดับทาส ระดับนาย ระดับอภิมนุษย์์ ที่มีพลังควบคุมคือกิเลสซึ่งสามารถนำไปใช้ในทางสร้างสรรค์ต่อตนเองและผู้อื่นด้วยหลักคุณธรรมที่มีกิเลสคือความมุ่งมั่น การต่อสู้ และการทะเยอทะยานเป็นแรงขับ
3. การเปรียบเทียบมนุษย์ใน 2 ทัศนะ พบว่า มนุษย์ในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท มีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ รูป และนาม เรียกว่า ขันธ์ 5 คือ รูป ได้แก่ มหาภูตรูป และอุปาทายรูป ส่วนนาม มี 4 อย่างคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อรูปและนามรวมกันจึงจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีการพัฒนาตนเพื่อการละกิเลสโดยมีพระนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุด ส่วนมนุษย์ในทัศนะฟรีดริช นิตเช่ เป็นผู้ที่รู้จักการพัฒนาตนเองโดยใช้แนวคิดเจตจำนงแห่งอำนาจ 3 ระดับ คือ ระดับทาส ระดับนาย ระดับอภิมนุษย์์ ที่มีพลังควบคุมคือกิเลสซึ่งสามารถนำไปใช้ในทางสร้างสรรค์ต่อตนเอง และผู้อื่นด้วยหลักคุณธรรมที่มีกิเลสคือความมุ่งมั่น การต่อสู้ ความทะเยอทะยานเป็นแรงขับเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กฤช มายา และวิโรจน์ อินทนนท์. (2561). แนวคิดเรื่องอำนาจของเฟรดริช วิลเฮลม นิตเช่. วารสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา, 14(2), 221-235.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2551). เปรียบเทียบแนวคิดพุทธทาสกับซาร์ตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พระสำเริง ญาณวีโร(สุขภาพ). (2552). ศึกษาวิเคราะห์ขอบเขตของเสรีภาพในพุทธปรัชญาเถรวาทและปรัชญาของฌอง-ปอล ซาร์ต. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิจิตร อาวะกุ. (2540). เทคนิคมนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: เอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

อริย์ธัช เลิศอมรไชยกิจ. (2561). ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดอภิมนุษย์ของฟรีดริช นิทเช่. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 3(2), 11-17.