ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในอำเภอเมืองจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
นักศึกษา, ปัจจัยภายใน, ปัจจัยภายนอกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในอำเภอเมืองจังหวัดลำปาง เป็นวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46 โดยด้านค่านิยม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 3.61 รองลงมาด้านการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46 และด้านบุคลิกภาพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 ส่วนปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.35 โดยด้านปัจจัยลักษณะงาน/ โอกาสในความก้าวหน้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 รองลงมาปัจจัยค่าตอบแทน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 และปัจจัยแนวโน้มทางการตลาด (กระแสนิยม) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.49 ตามลำดับ
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ปัจจัยภายในกับปัจจัยภายนอกมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในทุกด้าน และอิทธิพลของ ปัจจัยภายในกับปัจจัยภายนอกส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในอำเภอเมืองจังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงแรงงาน. (2559). การตัดสินใจเลือกอาชีพ. เข้าถึงได้จาก https://www. kaiaridee.com
กีรติกา สินสุวรรณ. (2557). การเลือกประกอบอาชีพของนักเรียนโรงเรียนธรรมจารินีวิทยา. วารสารวิจัยรามคำแหง (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 18(2), 1-14.
นพอนันต์ เพียรมั่นคง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกอาชีพของนักศึกษาสาขาการจัดการการบิน สถาบันเทคโนโลยีการบิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ, ครั้งที่ 7, 23 มิถุนายน 2559, (หน้า 24-38). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ไพลิน บรรพโต. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการเลือกประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมบริการของนักศึกษาสาขาการจัดการการโรงแรม ระดับชั้นปริญญาตรี ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วรวิพัชร์ งามพัทธวิชย์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานตำแหน่งผู้ช่วยผู้สอบบัญชีกับบริษัทตรวจสอบบัญชีขนาดใหญ่ 4 แห่ง ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Bright, L. (2005). Public employees with high levels of public service motivation: Who are they, Where are they, and what do they want?. Review of Public Personnel Administration, 25(2), 138-154.
Cronbach, L. J. (1990). Essential of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publisher.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education International.
Holland, John L. (1973). Making Vocational Choice: A Theory of Careers. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Maslow, A. H. (1954). Motivation and personality. New York: Harper and Row.
OECD. (2019). PISA 2018 Results (Volume II): Where All Students Can Succeed. PISA OECD Publishing Paris. Retrieved from https://doi.org/10.1787/b5fd1b8f-en
Yamane, T. (1973). Statistics, an introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.