การศึกษาวิเคราะห์การปกครองแบบธรรมวิชัยของพระเจ้าอโศกมหาราช

ผู้แต่ง

  • พระใบฎีกาเดชา กุสลจิตฺโต (สังวาลวงศ์) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สุกิจ ชัยมุสิก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การปกครอง, ธรรมวิชัย, พระเจ้าอโศกมหาราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราช 2) ศึกษาการปกครองแบบธรรมวิชัย และ 3) วิเคราะห์คุณค่าและประโยชน์การปกครองแบบธรรมวิชัยของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสารที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก อรรถกถาฎีกา ตำรา งานเขียนทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. พระเจ้าอโศกมหาราชทรงนำหลักการปกครองและแนวคิดทางพระพุทธศาสนามาใช้เป็นกุศโลบายในการปกครอง เพื่อสร้างความชอบธรรมและดำรงไว้ซึ่งอำนาจในการปกครองให้มีเสถียรภาพมากที่สุด โดยอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวคิดหลักในการปกครองบ้านเมือง มุ่งเน้นหลักปฏิบัติ โดยนำหลักธรรมดังกล่าวลงสู่การปฏิบัติ เผยแผ่ สั่งสอนประชาชนทั่วไป
2. พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปกครองบ้านเมืองโดยหลักธรรมวิชัย เป็นหลักการปกครอง ปกครองอาณาประชาราษฎร์ประดุจพ่อปกครองลูก หรือทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม สร้างศิลาจารึกสื่อสารเสริมธรรม แถลงเรื่องที่เป็นนโยบายของรัฐในทางธรรมที่จะให้ผู้บริหารปกครองท้องถิ่นนำไปสั่งสอนประชาชน แต่งตั้งธรรมมหาอำมาตย์ เป็นทูตแห่งธรรมในการเผยแผ่พระธรรม โดยพระองค์ก็เสด็จธรรมยาตราไปยังพุทธสถานทุกแห่ง เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรม
3. คุณค่าและประโยชน์การปกครองตามแบบธรรมวิชัย คือพระเจ้าอโศกมหาราชทรงใช้ระบอบการปกครองโน้มเอนไปทางด้านปิตาธิปไตย คือ ทรงปกครองประดุจพ่อปกครองลูกและพระองค์ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม สนับสนุนให้ศึกษาสืบค้น และเผยแผ่พระธรรมด้วยพระองค์เอง ก่อให้เกิดเป็นราชประเพณีที่กษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเจริญรอยตาม

References

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2539). ปรัชญาประยุกต์-อินเดีย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอช.เอ็น.กรุ๊ป.

_______. (2539). พระพุทธศาสนา สังคม และการเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คอมแพคท์พริ้นท์.

เช็ค ติงซานชาลี. (2556). สุดยอดสถานที่รำลึกถึงพระพุทธองค์ในอินเดีย-เนปาล. นนทบุรี: พิพิธภัณฑ์.

บริษัท พาโนรามา เวิลด์ไวด์ จำกัด. (2549). ตามรอยพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ: แพรว.

พระพรหมคุณาภรณ์. (2552). จารึกอโศก (ธรรมจักรบนเศียรสี่สิงห์) รัฐศาสตร์แห่งธรรมาธิปไตย. สมุทรปราการ: ผลิธัมม์.

_______. (2554). การปฏิบัติธรรม ฉบับที่ 36. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระมหาวุฒิชัยวชิรเมธี (ว.วชิรเมธี). (2561). อโศกมหาราช ผู้สร้างแนวคิดการเมืองใหม่. เข้าถึงได้จาก http://www.vimuttayalaya.net/DharmaDaily.aspx?id=73&page=10

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (ส. ศิวรักษ์). (2537). ความเข้าใจในเรื่องพระเจ้าอโศก และอโศกาวทาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์ไทย-ธิเบต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)