การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและคิดแก้ปัญหาของนักศึกษา สาขาวิชาการสอนภาษาไทยชั้นปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
คำสำคัญ:
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ, การแก้ปัญหา, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง 3 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 120 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่าน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. คะแนนความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษา โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 20.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.55 และหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 25.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 แสดงให้เห็นว่าความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา การจัดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. ความคิดเห็นของนักศึกษา ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมาก (X̅ = 4.39) พิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด (X̅ = 4.50) รองลงมา ได้แก่ ด้านสื่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.40) ด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.35) และด้านบรรยากาศ (X̅ = 4.32)
References
กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิรภา อรรถพร. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนเชิงรุกออนไลน์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของนิสิตปริญญาบัณฑิต. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(4), 122-136.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2556). การอ่านและการเขียนทางวิชาการ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ชมสุภัค ครุฑกะ. (2558). สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์การคิดอย่างมีวิจารณญาณและความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2546). เทคโนโลยีการศึกษาและทฤษฎีการวิจัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
เนาวนิตย์ สงคราม. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อสร้างองค์ความรู้และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์บัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัญญัติ ชำนาญกิจ. (2549). ทำไมจึงจำเป็นต้องจัดการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ในระดับอุดมศึกษา. วารสารการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 1(1), 1-7.
พันธุ์ทิพย์ เกื้อเพชรแก้ว. (2545). ปัญหาการสอนอ่านย่อความในระดับอุดมศึกษา. วิชาการ, 5(6), 51-58.
ไพศาล สุวรรณน้อย. (2559). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL). เอกสารประกอบการบรรยายโครงการพัฒนาการเรียนการสอน สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3u0mRQN
วรเชษฐ์ บุญยง. (2554). การพัฒนาความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุในระบบสุริยะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดกิจกรรมเทคนิคการสอนเชิงรุกที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ATLAS. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา บลิเคชั่น.
สัญญา ภัทรากร. (2552). ผลการจัดการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องความน่าจะเป็น. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ.
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การอ่านสังเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
อุษณีย์ เทพวรชัย. (2542). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงรุกทางการศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอมอร เนียมน้อย. (2551). พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.
Bonwell, C. C and Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creative Excitement in the Classroom.ASHE-ERIC higher Education Reports. Washington, D.C.: The George Washington University.