แม่สะเอง : ความสัมพันธ์ของพิธีกรรม ความเชื่อ และนาฏกรรม

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ ไชยศิวามงคล สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ชนัย วรรณะลี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • อัควิทย์ เรืองรอง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

แม่สะเอง, พิธีกรรม, ความเชื่อ, นาฏกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพิธีกรรม ความเชื่อ และนาฏกรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมแม่สะเองของชาวกูย บ้านโพนปลัด ตำบลสุขสวัสดิ์ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากการสังเกต สัมภาษณ์ และข้อมูลทุติยภูมิ จากวิจัยเอกสาร ผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก 17คน วิจัยภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาโดยผ่านการรับรองจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ เลขที่ ว.78/2564
ผลการวิจัยพบว่า “พิธีกรรมแม่สะเอง” เป็นวัฒนธรรมอันเกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพลังแห่งความเชื่อ ความศรัทธา โดยผ่านการแสดงออกทางนาฏกรรม เพื่อสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ จนเกิดเป็นค่านิยม ขนบธรรมเนียม กฎระเบียบของสังคมชาวกูย พิธีกรรม ประกอบด้วย ผู้ทำพิธี คือแม่ครูใหญ่ ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากชาวกูยในหมู่บ้านนั้น ผู้ร่วมพิธี คือ แม่ครูรองทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยแม่ครูใหญ่ ผู้ที่หายจากอาการเจ็บป่วย ญาติที่มีเชื้อสายสะเองในหมู่บ้าน และครูดนตรี กิจกรรมในพิธีประกอบด้วย การตรวจคาย การไหว้ครูดนตรี การเซ่นไหว้บรรพบุรุษและอัญเชิญพระยาแถน
รวมทั้งการละเล่น พิธีบายศรีสู่ขวัญ พิธีลาร่างทรง และพิธีขึ้นหิ้งหรือขึ้นบ้าน ซึ่งมีสัมพันธ์กับความเชื่อ 4 ด้าน คือความเชื่อและศรัทธาต่อพระยาแถน ความเชื่อในผีบรรพบุรุษ ความเชื่อในกฎแห่งกรรมตามพระพุทธศาสนา ความเชื่อในพิธีบวงสรวงบูชาและคาถาอาคมตามศาสนาพราหมณ์ ความเชื่อดังกล่าวสัมพันธ์กับนาฏกรรม การใช้ลำตัว การใช้มือและแขน การย่ำเท้า การร่ายรำตามจังหวะและธรรมชาติไม่มีกระบวนท่ารำที่เป็นรูปแบบ รวมทั้งการละเล่นตามจังหวะและทำนองดนตรี แสดงบทบาทตามความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แต่ละคนนับถือ นาฏกรรมดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีเป้าหมายคือ การบำบัด เยียวยาให้ผู้คน
ในสังคมอยู่เย็นเป็นสุข มีรูปแบบที่สัมพันธ์แนบแน่นด้านสังคม การทำมาหากิน ความเป็นอยู่ของชาวกูยจนเกิดเป็นประเพณีสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น

References

กนกวรรณ ระลึก. (2542). การฟ้อนสะเอิงของชาวไทยกูย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กีรติ ปาริสาร. (2559). การศึกษาโครงสร้างท่ารำในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วดในเขตอีสานใต้. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปะมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2521). ลักษณะวรรณกรรมอีสาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีรารัตน์ ลีลาเลิศสุระกุล. (2558). ที่มาของการแสดงพื้นบ้านอีสานชุด เซิ้งโปง. กาฬสินธุ์: วิทยาลัยนาฏศิลปะกาฬสินธุ์.

พรรณวดี ศรีขาว. (2554). การสืบทอดและบทบาทของพิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษของชาวกูยที่บ้านละเอาะอำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี ตราโมท. (2526). ดนตรีไทย. ดนตรีไทยมัธยมศึกษา ครั้งที่ 9 มหาดุริยางค์ไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาสน์.

วิจิตรวาทการ, หลวง. (2506). นาฏศิลปะ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). พระนครศรีอยุธยา: พระจันทร์.

ศิริมงคล นาฏยกุล. (2557). นาฏยศิลป์ตะวันตกปริทัศน์. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

อมรา พงศาพิชญ์. (2542). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม: กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Strauss, A., & Corbin, J. (1998). Basics of qualitative research: Techniques and procedures for developing grounded theory. (2"d ed.). Thousand Oaks: Sage publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)