วิเคราะห์การพัฒนาจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนชุมชนโพนสว่างดอนโมง ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การพัฒนาจริยธรรมนักเรียน, โรงเรียนชุมชนโพนสว่างดอนโมงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาจริยธรรมนักเรียน 2) ศึกษาการพัฒนาจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนชุมชนโพนสว่างดอนโมง ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น และ 3) วิเคราะห์การพัฒนาจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนชุมชนโพนสว่างดอนโมง ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 26 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาจริยธรรมนักเรียน เป็นการพัฒนานักเรียนให้มีความประพฤติที่ดีงาม เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยอาศัยการจัดการศึกษาในสถานศึกษา ที่ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่มีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่จำเป็นต่อนักเรียน ซึ่งสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบต่อการสอนและอบรมจริยธรรมทั้งในและนอกห้องเรียน
2. การพัฒนาจริยธรรมนักเรียนของโรงเรียนชุมชนโพนสว่างดอนโมง เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาจริยธรรมนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตามหลักจริยธรรมพื้นฐาน 8 ด้าน คือ ด้านความขยันด้านความประหยัดด้านความซื่อสัตย์ ด้านความมีวินัย ด้านความสุภาพ ด้านความสะอาด ด้านความสามัคคี และด้านความมีน้ำใจ อันเป็นแนวทางในการปลูกฝังหรือส่งเสริมจริยธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ด้วยการร่วมมือจากทุกฝ่ายจึงจะบรรลุผลตามเป้าหมาย
3. การพัฒนาจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนชุมชนโพนสว่างดอนโมง ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เป็นการพัฒนานักเรียนให้มีความรู้และมีจริยธรรมที่พึงปรารถนาของสังคม โดยการประยุกต์ใช้หลักจริยธรรมทางพระพุทธศาสนา ให้นักเรียนยึดถือในการปฏิบัติตน ประกอบด้วยหลักสังคหวัตถุ 4 หลักสาราณียธรรม 6 หลักคารวะ 6 ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้ที่มีจริยธรรมที่ดีงาม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในโรงเรียนและสังคมต่อไป
References
กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต.
ธนพงศ์ มงคล. (2545). ความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับการพัฒนาจริยธรรมในโรงเรียนมงฟอร์ดวิทยาลัย แผนกประถม. (วิทยานิพน์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นรายณ์ นาคปนทอง. (2545). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกระบี่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระณัฐพล วงศ์มูล. (2553). การพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนมานิตวิทยา: กรณีศึกษาโรงเรียนมานิตวิทยาตำบลห้วยใคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
พระธรรมปิฎก. (2535). พุทธวิธีแก้ปัญหาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิไล ตั้งจิตสมคิด. (2538). ศึกษาปัญหาการปลูกฝังและเริมสร้างจริยธรรมให้แก่นักศึกษาตามทัศนะของอาจารย์ในกลุ่มรัตนโกสินทร์. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏกระทรวงศึกษาธิการ.
สาโรช บัวศรี. (2527). จริยศึกษา. กรุงเทพฯ: บรรเทาการพิมพ์.
อิศรา ตาดทอง. (2549). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาจริยธรรมของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.