การวิเคราะห์พุทธสุนทรียศาสตร์ในวรรณกรรมอีสาน
คำสำคัญ:
พุทธสุนทรียศาสตร์, วรรณกรรมอีสานบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอถึงพุทธสุนทรียศาสตร์ในวรรณกรรมอีสาน พบว่า พุทธสุนทรียศาสตร์แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ความงามระดับโลกิยะ เป็นความงามที่ประกอบด้วยกามคุณห้า และความงามในระดับโลกุตระ เป็นความงามของจิตที่ปราศจากกิเลส ความทั้งสองระดับนี้สะท้อนให้เห็นความงามคือความสงบสุขของสังคมที่มีเมตตาธรรมเป็นฐาน ส่วนวรรณกรรมอีสานนั้น เป็นแหล่งรวม ความรู้สึก อารมณ์ ความคิด ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในสังคมแต่ละยุค ความงามของวรรณกรรมอีสานจะมีอยู่ในบทประพันธ์ต่าง ๆ ที่แฝงด้วยหลักคำสอนทางพุทธศาสนา และสะท้อนให้เห็นคุณค่าในด้านต่าง ๆ เช่น ค่านิยม คติธรรม และแนวทางดำเนินชีวิตในสังคม
References
เครือจิต ศรีบุญนาค. (2542). สุนทรียภาพของชีวิต. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.
จรัส พยัคฆราชศักดิ์. (2534). อีสาน 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
จารุบุตร เรืองสุวรรณ. (2519). ของดีอีสาน. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา
เติม วิภาคย์พจนกิจ. (2530). ประวัติศาสตร์อีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธวัช ปุณโณทก. (2543). วิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นเชิงเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2552). ปรัชญากรีก-บ่อเกิดภูมิปรัชญาตะวันตก. กรุงเทพฯ: สยาม.
เบญจมาศ พลอินทร์. (2525). แง่คิดจากวรรณคดีและวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
พระมหารังสันต์ กิตฺติปญฺโญ (ใจหาญ). (2553). การศึกษาวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ในพุทธปรัชญาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสวนทรา ธมฺมจารี (สุจารี). (2550). การศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาศิลปะตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระยาอนุมานราชธน. (2510). การศึกษาเรื่องประเพณีไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ฟื้น ดอกบัว. (2544). ปวงปรัชญากรีก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สยาม.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. (2558). ปรัชญาภาษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สวิง บุญเจิม. (2543). ปู่สอนหลาน. อุบลราชธานี: มรดกอีสาน.
อดิศักดิ์ โสมอินทร์. (2523). ภูมิศาสตร์อีสาน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.