การวิเคราะห์เนื้อหาบทละครเรื่อง Twelfth Night ตามหลักศีลห้าในพุทธศาสนา

Main Article Content

ชัยศนันทน์ สมปัญญาธิวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความหมายของโครงสร้างภาษาของบทสนทนา ในเรื่อง Twelfth Night ที่สอดคล้องกับหลักศีลห้าในพุทธศาสนา และ 2) จัดประเภทของกลุ่มโครงสร้างภาษาที่มีความหมายสัมพันธ์กับศีลห้าในพุทธศาสนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นตารางวิเคราะห์โครงสร้างภาษา รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เรียกว่า การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)
ผลการวิจัยพบว่า
1. มีข้อความที่มีความหมายสอดคล้องกับศีลในพุทธศาสนาจำนวน 2 ข้อคือ ศีลข้อที่ 4 และข้อที่ 5
2. มีโครงสร้างภาษาที่ใช้ซึ่งมีความหมายสัมพันธ์กับศีลห้าในพุทธศาสนาคือโครงสร้างในระดับคำมีทั้งหมด 2 คำ ระดับวลี มีทั้งหมด 8 กลุ่ม ระดับประโยคมีทั้งหมด 16 ประโยค และระดับอนุเฉทมีทั้งหมด 19 อนุเฉท ผู้วิจัยได้สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากงานวิจัยนี้คือ การวิเคราะห์ตัวละครที่แสดงออกมาทางการกระทำทางกาย และวาจา ในระดับคำ วลี ประโยค และอนุเฉทในละครเรื่อง Twelfth Night จะใช้หลักศีลห้าในพระพุทธศาสนาในการวิเคราะห์

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2537). เบญจศีลและเบญจธรรม. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิชาการ กองศาสนศึกษา กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.

จำนงค์ ประเสริฐ. (2514). ศาสนาเปรียบเทียบระหว่างพระพุทธศาสนากับคริสต์ศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พระนคร: รุ่งเรืองธรรม.

ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. (2522). ศาสนาคริสต์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญมี แท่นแก้ว. (2546). ประวัติศาสนาต่างๆ และปรัชญาธรรม. กรุงเทพฯ: โอเดี้ยนสโตร์.

เปลื้อง ณ นคร. (2528). ปริทรรศน์แห่งวรรคดีอังกฤษ. กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). บุญ-บารมี ที่จะกู้แผ่นดินไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

วิกรานตา โชติช่วงรัศมี. (2548). การวิเคราะห์จริยธรรมของตัวละครในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาศรีนคริทรวิโรฒ.

สุเมธ เมธาวิทยกูล. (2525). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: โอเดี้ยนสโตร์.

Agarwal, S. (2000). Shakespeare’s Twelfth Night. (2nd ed). India: Prakash Book Depot.

Long, W. (2013). English Literature. India: AITBS Publishers.