การวางรากฐานแก่เยาวชนไทยแบบการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย ของไทยให้ก้าวหน้าและยั่งยืน

Main Article Content

พระครูวินัยธร วรชัด ทะสา
พระมหาไทยน้อย ญาณเมธี (สลางสิงห์)

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอประเด็นศึกษาการวางรากฐานแก่เยาวชนไทยแบบการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยของไทยให้ก้าวหน้าที่ยั่งยืน พบว่า การวางรากฐานของเยาวชนไทยเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยโดยเฉพาะในการเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยของไทย เริ่มตั้งแต่การเรียนรู้การปกครองระบอบประชาธิปไตยให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ การปฏิบัติตนความเป็นพลเมืองของรัฐไทยที่อยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย โดยยึดหลักสากลในระบอบประชาธิปไตยและมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิต รวมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างสร้างสรรค์ของเยาวชนไทย ถือเป็นความสำคัญในการวางรากฐานประชาธิปไตยของไทยที่เข้มแข็ง และยังช่วยส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยของไทยให้ก้าวหน้า ยั่งยืน ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2551). สาระความรู้เพื่อประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี.

กิตติทัศน์ ผกาทอง. (2563). คนรุ่นใหม่กับกิจกรรมทางการเมือง. เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news

ทสมล ชนาดิศัย. (2558). หน้าที่พลเมือง. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.

ทวี สุรฤทธิกุล. (2562). คนรุ่นใหม่กับประชาธิปไตยใหม่. เข้าถึงได้จาก https://www.posttoday.com/politic/columnist/603407

ธนบัตร อารีสวัสดิ์. (2554). ประชาธิปไตยคำที่มีปัญหาต่อการปกครองของประเทศไทยในปัจจุบัน. เข้าถึงได้จาก https://web.facebook.com/notes/

บุญธรรม เลิศสุขีเกษม. (2543). บทบาทของประชาชนต่อการส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พสิษฐ์ ไชยวัฒน์ และสติธร ธนานิธิโชติ. (2561). คนรุ่นใหม่ประชาธิปไตยช่วงเปลี่ยนผ่าน. เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal

ภูสิทธ์ ขันติกุล. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สถาบันพระปกเกล้า สำนักวิจัยและพัฒนา. (2555). เพิ่มพลังพลเมืองเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เอ.พี.กราฟิคดีไซน์.

สถาบันพระปกเกล้า สำนักแผนพัฒนาการเมือง สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง. (2554). รายงานการศึกษาแนวทางการสร้างเสริมสำนึกความเป็นพลเมืองแก่เยาวชน. กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

_______. (2554). รายงานวิจัยสำนึกพลเมือง. กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2556). อุดมการณ์ วัฒนธรรมและการเป็นผู้แทนในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: ส เจริญ.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. (2553). การสร้างสรรค์วัฒนธรรมประชาธิปไตย ตอน การเคารพ สิทธิของตนเองและผู้อื่น. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

_______. (2558). วิถีประชาธิปไตยในสังคมประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อมร รักษาสัตย์. (2541). การศึกษากับการพัฒนาประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.