ข้อโต้แย้งทางจริยศาสตร์กฎหมายสมรสเท่าเทียม

Main Article Content

พระครูปลัดธันรบ โชติวํโส (วงศ์ษา)
พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ (วงค์ใส)
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
ประสิทธิ Prasit

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งเน้นพิจารณาข้อโต้แย้งทางจริยศาสตร์ เกี่ยวกับ กฎหมายการสมรสเท่าเทียม ของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยนำเสนอเหตุผลทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายที่คัดค้าน ระหว่าง 1) ฝ่ายที่สนับสนุน มีฐานแนวคิดจริยศาตร์สำนักประโยชน์นิยม ของ จอนห์ สจ๊วต มิลล์ ซึ่งเชื่อว่า สังคมต้องเคารพในเสรีภาพส่วนบุคคล รัฐไม่มีสิทธิไปก้าวก่ายในการออกกฎหมายห้ามการกระทำนั้น แม้สังคมจะไม่ชอบพฤติกรรมนั้น สังคมโดยอำนาจรัฐก็ไม่อาจออกกฎหมายห้ามหรือเอาผิดได้ เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวของพวกเขาเหล่านั้น และการมองว่า ไม่ว่าจะเป็นใคร มีเพศสภาพใดก็ตาม ก็มีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ในประเทศไทยอย่างปลอดภัย และมีสวัสดิการสมควรจะได้รับ กับ 2) ข้อเสนอทางนิติปรัชญาของ แพทริค เดฟลิน เป็นฝ่ายที่คัดค้านโดยเชื่อว่า บทบาทหนึ่งของกฎหมาย คือการเป็นเสาหลักในการค้ำจุนความมั่นคงของสังคม กฎหมายที่ดีต้องมาคู่กับศีลธรรม คนเหล่านี้พวกเขาอาจไม่ได้ละเมิดใคร แต่ถ้าสังคมเต็มไปด้วยคนประเภทนี้ก็เปรียบเสมือนบ้านที่มีโครงและเสาที่ผุกร่อนถูกกัดกินด้วยปลวกและมอด ดังนั้นสังคมไม่เพียงต้องการกฎหมายที่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้ดีเท่านั้น แต่สังคมต้องการกฎหมายที่ดีงามทางศีลธรรมด้วย และ 3) แนวคิดเรื่องความเสมอภาคของความหลากหลายทางเพศ ผ่านมุมมองของพุทธจริยศาสตร์ ในฐานะที่เป็นรากฐานความประพฤติของคนในสังคมไทยนั้น มีท่าทีและเจตคติในการพิจารณาที่น่าสนใจเพื่อเปรียบเทียบเป็นเกณฑ์ตัดสินด้วยเช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

จรีย์วรรณ จันทร์แดง, ณรัตน์ สมสวัสดิ์ และสุขพาพร ผานิต. (2546). ความรุนแรงต่อหญิงรักหญิง: ความผิดปกติของจิตหรือทางเลือกที่เสรีของคนรักเพศเดียวกัน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสินรินธร (องค์กรมหาชน).

_______. (2549). คุณค่าของชีวิตมนุษย์ตามทัศนะของพระพุทธศาสนากับการประยุกต์ใช้ในทางชีวจริยธรรม. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 13(2), 6-48.

ชะวัชชัย ภาติณธุ. (2546). สิทธิมนุษยชนกับหลักการแห่งพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

ไทยรัฐออนไลน์. (2565). สมรสเท่าเทียม คืออะไร ประโยชน์ที่ LGBTQIA+ จะได้รับมีอะไรบ้าง?. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2420562

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2545). ว่าด้วย “เพศ” ความคิด ตัวตน และ อคติทางเพศ ผู้หญิง เกย์ เพศศึกษา และกามารมณ์. กรุงเทพฯ: มติชน.

ปรีดี เกษมทรัพย์. (2557). นิติปรัชญา. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ. กรุงเทพฯ: บริษัทสหธรรมิก.

ภัทรพร สิริริกาญจน. (2554). การศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ในงานเขียนของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). วารสารศิลปศาสตร์, 3(2), 81-101.

ภูริชญา วัฒนรุ่ง. (2554). หลักกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2540). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาอังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

โรงพยาบาลปริ้นซ์ สุวรรณภูมิ. (2565). ทำความรู้จัก LGBTQ+ โอบกอดความหลากหลายที่ “ไม่จำเป็นต้องรักษา”. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/Z5jBX

วิทย์ วิศทเวทย์. (2532). จริยศาสตร์เบื้องต้นกับปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

สมภาร พรมทา. (2540). จริยธรรมสองระบบในพุทธศาสนา: การแสวงหารากฐานปรัชญาสังคมและนิติปรัชญาในพุทธศาสนา. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 4(1), 53-69.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2539). พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์.

หริณวิทย์ กนกศิลปะธรรม. (2556). ความหลากหลายทางเพศในมุมมองจริยศาสตร์ศาสนาคริสต์และพุทธศาสนา. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 35(2), 101-122.