ความสัมพันธ์ระหว่างสังขตธรรมกับอสังขตธรรม: ศึกษาเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างนิพพานกับสังขตธรรม

Main Article Content

พระมหาวราทิต อาทิตวโร
พระครูจันทธรรมานุวัตร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างสังขตธรรม กับอสังขตธรรมเป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งกับสิ่งที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อสังขตธรรมมีหลายอย่าง ในบทความนี้ศึกษาเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างนิพพาน กับสังขต ธรรม
จากการศึกษาพบว่า ลักษณะของสังขตธรรมและอสังขตธรรมมีความแตกต่างกัน 3 อย่างคือ ลักษณะของสังขตธรรม 3 อย่าง คือ 1) ความเกิดขึ้นปรากฏ 2) ความดับปรากฏ 3) ขณะดำรงอยู่ความเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นปรากฏ ส่วนลักษณะของอสังขตธรรม 3 อย่าง คือ 1) ความเกิดขึ้นไม่ปรากฏ 2) ความดับไม่ปรากฏ 3)ขณะดำรงอยู่ความเปลี่ยนแปลงไป เป็นอย่างอื่นไม่ปรากฏ สังขตธรรมในบทความนี้หมายเอาสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง คือ ขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และปรมัตถธรรม 3 อย่าง คือ รูป จิต และ เจตสิก อสังขตธรรมมีหลายอย่างในที่นี้หมายเอาเฉพาะนิพพาน มี 2 อย่าง คือ 1) สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานมีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานยังมีเชื้อเหลือ 2) อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานไม่มีเชื้อเหลือการปรากฏขึ้นของสังขตธรรม ต้องอาศัยธรรมชาติ 2 อย่าง คือ 1) ธรรมชาติสำหรับรองรับการเกิดขึ้น 2) ธรรมชาติสำหรับเปรียบเทียบ เช่น พระ โพธิสัตว์สมณสิทธัตถะ บำเพ็ญเพียรจนสามารถสลัดออกจากสังขตธรรมได้ กลายเป็นพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมชาติสำหรับรองรับการเกิดขึ้น คือนิพพาน หรืออนุตตรสัมมาสัมโพธิ ญาณ ส่วนธรรมชาติสำหรับเปรียบเทียบคือ ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระ อริยบุคคล สลัดออกจากความเป็นปุถุชน จากความสัมพันธ์ดังกล่าวข้างต้นนั้น นิพพานจึงมี ความสัมพันธ์กับสังขตธรรมในฐานะเป็นที่รองรับหรือเป็นพื้นฐานรองรับสังขตธรรม ถ้าไม่ มีอสังขตธรรมรองรับ การสลัดออกจากสังขตธรรมก็มีไม่ได้ อุปมาเหมือนกับฝั่งโน้นเป็นที่ รองรับของฝั่งนี้ ถ้าไม่มีฝั่งโน้น การที่จะพูดว่าข้ามไปฝั่งโน้นก็มีไม่ได้ ฉะนั้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

กรมศิลปากร. (2550). คัมภีร์มิลินทปัญหา (ไทย-บาลี). (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ประยูรศ์พริ้นท์ติ้ง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร. (2555). ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องอสังขตธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท. (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอนุรุทธาจารย์. (2542). อภิธมฺมตฺถสงฺคหบาลี. ในอภิธมฺมตฺถสงฺคหปาลิยา สห อภิธมฺมตฺถวิภาวินี นาม อภิธมฺมตฺถสงฺคหฏีกา. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_______. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมภาร พรมทา. (2559). พุทธปรัชญาในอภิธรรมปิฎก. นนทบุรี: ปัญญฉัตร์ บุ๊คส์ บายดิ้ง.