การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง: กรณีศึกษา โครงการบ้านมั่นคง ชุมชนมั่นคง 133 เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ภัทราภรณ์ ประดับทอง
ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง ชุมชนมั่นคง 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง ชุมชนมั่นคง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้มีส่วนสำคัญในการดำเนินงานโครงการ มีความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนมีความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการทุกขั้นตอนอย่างลึกซึ้ง จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ตีความเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีเพื่ออธิบายถึงกระบวนการขั้นตอนตั้งแต่ก่อนดำเนินงานโครงการ ระหว่างดำเนินการโครงการ และหลังดำเนินงานโครงการเสร็จสิ้น
ผลการวิจัยพบว่า
1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง ชุมชนมั่นคง ภาพรวมอยู่ในระดับสูงที่สุด โดยสะท้อนจากกระบวนการในการดำเนินงานโครงการที่ผู้วิจัยแบ่งออกเป็น 3 ห้วงเวลา คือ ช่วงก่อนดำเนินงานโครงการ การมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับต่ำ และมีระดับสูงขึ้นเป็นปานกลางในช่วงท้าย ช่วงระหว่างดำเนินงานโครงการ การมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง และหลังดำเนินงานโครงการ การมีส่วนร่วมของประชาชนเริ่มต้นอยู่ในระดับปานกลาง และมีระดับสูงขึ้นสูงสุดในช่วงท้าย
2. โครงการบ้านมั่นคงชุมชนมั่น 133 ช่วงก่อนดำเนินงานโครงการ พบปัญหาและอุปสรรคในการสำรวจข้อมูล การลงทะเบียนผู้ได้รับความเดือดร้อน และการรวมกลุ่มออมทรัพย์ เนื่องจากประชาชนยังขาดความเชื่อมั่นในผู้นำและการบริหารเงินออมทรัพย์ โดยมีวิธีแก้ปัญหาโดยการจัดประชุมประจำเดือน เปิดเวทีพูดคุย พร้อมทั้งให้เจ้าหน้าที่เข้ามาสร้างความมั่นใจ และให้ข้อมูลเพิ่มเติม ช่วงระหว่างดำเนินงานโครงการพบปัญหาการไม่ได้รับอนุมัติสินเชื่อ โดยมีวิธีแก้ปัญหาด้วยการพัฒนาความสามารถของบุคลากร แก้ไขข้อผิดพลาด และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และช่วงหลังดำเนินงานโครงการพบว่า มีปัญหาขาดงบประมาณการบริหารพัฒนาพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งแก้ปัญหาโดยการเสาะหางบประมาณส่วนอื่นนอกเหนือที่ได้จากโครงการ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กองกูณฑ์ โตชัยวัฒน์. (2559). นวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์. วารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์, 22(85), 67-76.

กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. (2564). จำนวนชุมชนประเภทต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2564. เข้าถึงได้จาก https://webportal.bangkok.go.th/pipd/page/sub/23329/สถิติกรุงเทพมหานคร-2564

คมสันต์ มิ่งวัฒนกุล. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนและกระบวนการเจรจาต่อรองที่มีอิทธิพลต่อการจัดการปัญหาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย: กรณีศึกษาโครงการ บ้านมั่นคงเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 5051-5066.

เฉลิม เกิดโมลี และคณะ. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการบ้านมั่นคง: กรณีศึกษา ชุมชนริมคลองเปรมประชากร เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมหาวิทยาลัยเกริก.

ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม. (2564). แผนพัฒนาชุมชนประจำปี 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานเขตบางบอน

รายการร้อยมือสร้างเมือง. (2556). โครงการพัฒนาชุมชนบ้านมั่นคง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. โมเดิร์นไนน์ทีวี. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=CMb0lJ43ZRo

ศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ. (2562). สถานการณ์ครอบครองที่อยู่อาศัยของครัวเรือน 2562. เข้าถึงได้จาก https://nhic.nha.co.th/archives/tag/2562

สดสิริ วัฒกาพัทธ์. (2561). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงกับความสำเร็จของโครงการบ้านมั่นคง: กรณีศึกษา โครงการบ้านมั่นคงชุมชนบางบัว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

อคิน รพีพัฒน์. (2539). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภา.

Creighton, J. L. (2005). The Public Participation Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement. San Francisco: Jossey Bass.

Nabeel, Hamdi and Reinhard Goethert. (1997). Action Planning for Cities: A Guide to Community Practice. Chichester: John Wiley & Sons Ltd. England.

Natakun, B. (2013). Dynamics of upgrading processes: a case study of a participatory slum upgrading in Bangkok. The University of Melbourne, Australia.