อัฏฐสุตรา
คำสำคัญ:
อิทัปปัจจยตา, ปฏิจจสมุปบาท, ความทุกข์บทคัดย่อ
บทวิจารณ์หนังสือเรื่อง อัฏฐสุตรา เป็นนวนิยายวิทยาศาสตร์อิงประวัติศาสตร์ที่อธิบายแนวคิดทางปรัชญา ผ่านบทสนทนาของตัวละคร ซึ่งพบแนวคิดเชิงปรัชญาในเนื้อเรื่องอยู่ 2 กลุ่ม คือ แนวคิดเชิงพุทธปรัชญาและแนวคิดเชิงปรัชญาเต๋า จัดอยู่ในขอบเขตแนวคิดเชิงปรัชญาย่อย 4 สาขา ได้แก่ อภิปรัชญา จริยศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ และ ญาณวิทยา ทั้งนี้ยังมีความพยายามเชื่อมโยงหลักธรรม อิทัปปัจจยตา และ ปฏิจจสมุปบาท สะท้อนแนวคิดเรื่อง สังสารวัฏ กฎแห่งกรรม และ แนวคิดเรื่องเจตจำนงเสรี ขณะเดียวกันเนื้อหาเชิงปรัชญาและวิทยาศาสตร์ในหนังสือเรื่องนี้ ปรากฎฐานะคู่ตรงข้าม โดยวิทยาศาสตร์อยู่ในรูปของระบบความคิด สิ่งประดิษฐ์สนองตัณหาหรือสิ่งที่เกี่ยวพันกับพฤติกรรมด้านมืดของมนุษย์ ขณะที่ปรัชญาปรากฎในรูปของระบบความคิดที่ให้ความหวัง ทางแก้ปัญหา หรือพฤติกรรมของตัวละคร ยังผลให้มุ่งเน้นไปที่การเตือนใจหรือสั่งสอนมนุษย์ ราวกับเป็นนิทานสอนใจที่กำลังชักจูงให้ผู้อ่านทำความดี เว้นจากความชั่วร้ายและหันกลับมาสำรวจโลกภายในของตนเอง ผ่านกลวิธีการนำเสนอ นำไปสู่การอภิปรายปัญหาเรื่องความทุกข์ตามทัศนะพุทธปรัชญา ทั้งเรียกร้องให้ผู้อ่านหันมาดำเนินชีวิตอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติตามทัศนะปรัชญาเต๋า และ วิทยาศาสตร์ ในเชิงประนีประนอม หนังสือเรื่อง อัฏฐสุตา จึงจัดเป็นงานกลุ่มหนึ่งที่ทำให้แนวคิดเชิงปรัชญาเบ่งบาน ทั้งยังสื่อว่าปรัชญาศาสนาและวิทยาศาสตร์สามารถอยู่ร่วมกันได้ วิทยาศาสตร์ทำให้ผู้อ่านมีจินตนาการ มีพลังทางปัญญา และไม่ยอมแพ้ต่อความเป็นไปไม่ได้ทั้งปวง ขณะที่ปรัชญาช่วยทำให้รู้สึกถ่อมตน สอนให้เข้าใจธรรมชาติ มองโลกตามความเป็นจริง
References
ชัยวัฒน์ คุประตกุล. (2524). วิทยาศาสตร์ในนิยายวิทยาศาสตร์ ความรู้และแนวคิดในการเข้าถึงนิยายวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ต้นหมาก.
ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. (2549). เต๋า: ทางแห่งธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: อินเดียนสโตร์.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). ค้นหาคำว่า “อัฏฐ-อัฏฐะ”. เข้าถึงได้จาก https://dictionary.orst.go.th/
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตุโต). (2552). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2553). ปรัชญาทรรศน์: พุทธปรัชญา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วินทร์ เลียววาริณ. (2553). อัฏฐสุตรา. กรุงเทพฯ: 113 จำกัด.
เหลาจื๊อ. (2537). เต๋า เต็ก เก็ง, (โชติช่วง นาดอน แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ข้าวหอม.
Monier, W. (1992). Sanskrit English Dictionary. United Kingdom: Oxford University Press.