การศึกษาความคิดเห็นการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูตามแนวคิดฐานสมรรถนะของนักศึกษาวิชาชีพครู ระดับชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
คำสำคัญ:
ความเป็นครู, ฐานสมรรถนะ, จรรยาบรรณวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดคุณลักษณะความเป็นครูตามแนวคิดฐานสมรรถนะของนักศึกษาวิชาชีพครู และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูตามแนวคิดฐานสมรรถนะของนักศึกษาวิชาชีพครู เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู ระดับชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จากการศึกษารายวิชาคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณความเป็นครู จำนวน 66 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบบันทึกการสังเกต และแบบบันทึกการสะท้อนคิด การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและวิเคราะห์แบบอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. กรอบแนวคิดคุณลักษณะความเป็นครูตามแนวคิดฐานสมรรถนะของนักศึกษาวิชาชีพครู แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่สอน ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนและการใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพครู 2) ด้านทักษะ ได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการคิดเชื่อมโยง ทักษะการคิดอย่างมีวิจารญาณและการคิดเชิงเหตุผลเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพครู 3) จริยธรรม ได้แก่ การประพฤติตนเป็นคนดีมีศีลธรรมและการประพฤติตนเป็นครูที่ดี และ 4) คุณลักษณะบุคคล ได้แก่ บุคลิกภาพดีมีความเหมาะสมของผู้ประกอบวิชาชีพครูและความภาคภูมิใจในวิชาชีพครู
2. ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะด้านความเป็นครูตามแนวคิดฐานสมรรถนะของนักศึกษาวิชาชีพครู พบว่า 1) นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาจรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 ด้าน เพิ่มมากขึ้น 2) นักศึกษามีความคิดเห็นว่า ภายหลังจากเรียนจบภาคเรียนนี้ ทำให้ตนเองมีทักษะการคิดแยกแยะคุณลักษณะของตนเองว่า อยู่ในระดับใดเมื่อเทียบเคียงกับคุณลักษณะความเป็นครู 3) นักศึกษารู้จักวิธีการประพฤติปฏิบัติตนเหมาะสมในการเป็นครูที่ดี และ 4) นักศึกษามีความรู้สึกภาคภูมิใจในอาชีพครู มีความคิดเห็นว่าตนเองจะสามารถปฏิบัติตนเป็นครูที่มีความเหมาะสมได้
References
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. (2565). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง). เข้าถึงได้จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2021/03/01-pdf
คณะกรรมการมาตรฐานอุดมศึกษา. (2565). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.ops.go.th/th/ches-downloads/edu-standard/item/6940-2022-07-22-02-54-49
ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกบความต้องการในอนาคต. วารสารครุศาสตร์, 45(3), 17-33.
ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. (2565, 9 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 212ง, หน้า 35-36.
ภิญญาพัชญ์ ปลากัดทอง. (2561). การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูของนิสิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 1(11), 212-225.
วันเพ็ญ นันทะศรี. (2559). การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูวิชาชีพในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(3), 96-105.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2563). ราชกิจจานุเบกษาประกาศรายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 และหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2563. เข้าถึงได้จาก https://www.ksp.or.th/ksp2018/2020/06/19628/
สินธะวา คามดิษฐ์. (2546). การวิจัยในชั้นเรียนระดับอุดมศึกษา. เข้าถึงได้จาก https://www.dpu.ac.th/ces/upload/km/1403847566.pdf
Bautista, A., & Ortega-Ruíz, R. (2015). Teacher professional development: International perspectives and approaches. Psychology, Society and Education, 7(3), 240-251.
Gardner, H. E., & Shulman, L. S. (2005). The Professions in America Today: Crucial but Fragile. Daedalus, 134(3), 13-18.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (2005). Participatory action research. In N. Denzin & Y. Lincoln (Eds.), Handbook of qualitative research (3rd ed.). Thousand Oaks: Sage.
Krajewski, S. J., & Schwartz, R. (2014). A Community College Instructor’s Reflective Journey toward Developing Pedagogical Content Knowledge for Nature of Science in a Non-majors Undergraduate Biology Course. Journal of Science Teacher Education, Springer, 25(5), 543-566.
Tatto, M. T. (2021). Professionalism in Teaching and the Role of Teacher Education. European Journal of Teacher Education, 44(1), 20-44.
Wardoyo, C., Herdiani, A., & Sulikah. (2017). Teacher Professionalism: Analysis of Professionalism Phases. International Education Studies, 10(4), 90-100.