การบริหารเวลาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5
คำสำคัญ:
การบริหารเวลา, ประสิทธิผลของการบริหารงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารเวลาและประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน 2) ศึกษาการบริหารเวลาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเวลาของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 328 คน ได้จากการสุ่มโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์
ความเที่ยง 0.90 และได้ค่า IOC ที่มีค่าตั้งแต่ 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน โดยภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดและระดับประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียน โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเวลาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียน ทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวก และมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. การบริหารเวลาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน มีจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดลำดับของกิจกรรม และด้านการบริหารจัดการเวลาที่ไร้ประโยชน์ และได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .767 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 58.80
References
ประยงค์ ศรีโทมี. (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน
ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ลัดดาวัลย์ บุญเลิศ. (2554). การวางแผนกลยุทธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 4. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2560). บริหารเวลาอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: เพชรประกาย.
สุริดา หลังจิ. (2556). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
เสวก สุขเสือ. (2550). การบริหารเวลาในการปฏิบัติภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เทพสตรี.
อินทรา หิรัญสาย. (2560). การบริหารเวลา. เข้าถึงได้จาก http://free.dcomputech.cominticlemngetime01.html
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Rows Pubtisher.
Likert, R. (1961). New pattern of Management. New York: Harper & Rows Pubtishers.
Masterton, A. (1997). Getting Results with Time Management. London: Library Association Publishing.