การใช้หลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4

Main Article Content

ธนากร แปไธสง
พระครูปลัดบุญช่วย โชติวํโส
พระฮอนด้า วาทสทฺโท
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้หลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 2) เปรียบเทียบการใช้หลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน 3) ศึกษาแนวทางการใช้หลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 278 คน กลุ่มเป้าหมายจำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (t-test แบบ Independent Samples) และ (F-test แบบ one way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การใช้หลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.50, S.D. = 0.24)
2. เปรียบเทียบการใช้หลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 พบว่าจำแนกตามเพศ โดยภาพรวมและรายด้านมีความเห็นแตกต่างกัน จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวม และรายด้านมีความเห็นไม่แตกต่างกัน
3. แนวทางการใช้หลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ได้แก่ 1) ด้านเมตตา ผู้บริหารควรมีความปรารถนาดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้คำแนะนำในการทำงาน 2) ด้านกรุณาผู้บริหารควรมีความกรุณาปรานีกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความบริสุทธิ์ใจ 3) ด้านมุทิตา ผู้บริหารควรสนับสนุนส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานพัฒนาตนเองให้มีความเจริญก้าวหน้า 4) ด้านอุเบกขา ผู้บริหารควรมีความปรารถนาดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาโดยไม่มีอคติมีความเที่ยงธรรมในการบริหารงานเสมอภาค

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

น้ำอ้อย อนุสนธิ์. (2554). การศึกษาการใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร. (สารนิพนธ์ศาสนศาตรมหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เนตรนภา เนตรมุข. (2559). การบริหารงานบุคคลตามหลักพรหมวิหาร 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูอินทสรธรรม นรินฺโท (โคนพันธ์). (2562). การบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาบุญญวัฑฒ์ ปญญาวุฑฺโฒ (อ่อนดี). (2555). การศึกษาการบริหารงานบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนประถมศึกษา เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พลภัทร ปิ่นทอง. (2556). การบริหารโรงเรียนของรัฐตามหลักพรหมวิหารธรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริพงษ์ เศาภายน. (2552). หลักการบริหารการศึกษา: ทฤษฏีและแนะแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

อมรา เล็กเริงสินธุ์. (2542). คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

Krejcie. R. V. & Morgan. D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.