การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • เสกสรร พิทักษ์ทา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ณัฎฐ์ รัตนศิริณิชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

โรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก, การบริหารวิชาการ, แนวทางการบริหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก และ 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และกระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus Group)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก พบว่า การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมาคือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2. แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก พบว่า นำวงจรคุณภาพ PDCA มาเป็นกรอบในการดำเนินงานตามภาระงานที่ต้องได้รับการพัฒนาทั้ง 3 ข้อประกอบด้วย การวางแผนการดำเนินงาน สร้างความรู้ความเข้าใจให้ครูและบุคลากร มีระยะเวลาในการดำเนินงานที่ชัดเจน มีคู่มือในการดำเนินงาน รวมถึงกระบวนการทำงาน ที่อาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งต้องมีการมอบหมายภารกิจอย่างชัดเจน มีการตรวจสอบการดำเนินงาน นิเทศกำกับ ติดตามอย่างเป็นระบบ และมีผลการดำเนินไปปรับปรุง พัฒนาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: ชุมชนการเกษตรแห่งประเทศไทย.

_______. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมชนการเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนา ธีมาธนนันท์. (2555). แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบ้านวารี อำเภอแม่สรวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ธีรพงศ์ ทับอินทร์. (2558). การใช้วงจรเดมมิ่ง (พีดีซีเอ) ในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา, 9(2), 68-78.

นิลวรรณ วัฒนา. (2556). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มยุรฉัตร เหล่าแค. (2555). ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสตรีสิริเกศ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิวพร ละหารเพชร. (2562). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

อาคม ยุพานิชย์ และสุรางคนา มัณยานนท์. (2565). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(1), 137-150.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)