การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • คัทลียา ยารังสี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระครูปลัดบุญช่วย โชติวํโส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • สัมฤทธิ์ กางเพ็ง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ปัจจัยความสำเร็จ, การบริหารงาน, หลักธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ จำแนกตามสถานภาพ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 317 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ F-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.46) รายด้านที่มีระดับปฏิบัติสูงสุด คือ ปัจจัยด้านโรงเรียน ปัจจัยด้านผู้บริหาร และปัจจัยด้านครู ตามลำดับ
2. เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ จำแนกตามสถานภาพ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
3. แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร ได้แก่ 1) หลักนิติธรรม ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ อย่างเคร่งครัด 2) หลักคุณธรรม ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม มีจริงใจ เห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชา 3) หลักความโปร่งใส มีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบและติดตามผลสำเร็จของการบริหารได้ 4) หลักความมีส่วนร่วม ควรรับฟังความคิดเห็นและประชุมชี้แจงต่อผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการดำเนินงาน 5) หลักความรับผิดชอบ ตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อสังคม 6) หลักความคุ้มค่า คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวมในการบริหารจัดการ

References

ดาวริกา อักษรถึง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับปัจจัยความสำเร็จกับระดับความสำเร็จของการนำ หลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา: เทศบาลนครหาดใหญ่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 9(2), 3-13.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2561). หลักธรรมาภิบาลจากแนวคิดสู่การปฏิบัติในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พงษ์กฤตย์ นามปพนอังกูร และคณะ. (2564). ธรรมาภิบาล: หัวใจของการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 16(1), 1-14.

พระมหาวินัย สิริภทฺโท (แช่มสายทอง). (2561). การบริหารโรงเรียนตามแนวทศพิธราชธรรมกับหลักธรรมาภิบาล. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 16(2), 194-203.

พระมหาวินัย สิริภทฺโท (แช่มสายทอง) และคณะ. (2563). รูปแบบการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิภาพสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 7(3), 242-253.

พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562. (2562, 16 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอน 50, หน้า 1-10.

พระสมุห์วิเชียร จิตฺตสาโร, เจ้าอธิการบุญช่วย โชติวํโส และสุนทร สายคำ. (2563). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. Journal of Modern Learning Development, 5(4), 92-102.

เพ็ญพรรณ เครากระโทก, สมศรี ทองนุช และสุเมธ งามกนก. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. Journal of Graduate School, 17(87), 58-70.

สันติ เลิศไกร และนัทนิชา หาสุนทรี. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาระบบบริหารตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11 Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2020, 27 มีนาคม 2563, (หน้า 975-988). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสนันทา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)