แนวทางการบริหารจัดการแก้ปัญหาอบายมุขตามหลักปธาน 4 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
คำสำคัญ:
แนวทางทางการบริหารจัดการ, อบายมุข, หลักปธาน 4บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาด้านอบายมุขในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 2) เสนอแนวทางการบริหารจัดการแก้ปัญหาอบายมุขตามหลักปธาน 4 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหาร และครู รวม 332 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาด้านอบายมุขในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีระดับสภาพปัญหาสูงที่สุดคือ ด้านการบริหารจัดการ รองลงมาคือ ด้านการเฝ้าระวัง และด้านการรักษา ตามลำดับ
2. แนวทางการบริหารจัดการแก้ปัญหาอบายมุขตามหลักปธาน 4 ในสถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ด้านการป้องกัน เพียรระวังอบายมุขทุกประเภท จัดทำป้ายในการเตือนภัย จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้แก่นักเรียนเพื่อไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด ด้านการค้นหา สร้างระบบคัดกรองนักเรียนที่มีประสิทธิภาพสามารถแยกกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่มแต่ละประเภทได้อย่างชัดเจน ด้านการรักษา ควรจัดกิจกรรมกีฬาและดนตรีรวมถึงกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ไม่ยุ่งเกี่ยวอบายมุขสิ่งเสพติด ประสานงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือด้านการบำบัด ด้านการเฝ้าระวัง เพียรระวังรักษาสอดส่องพฤติกรรมของนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับอบายมุข ด้านการบริหารจัดการ สร้างกลุ่มเครือข่ายระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและวัดเพื่อช่วยกันดูแลสอดส่องในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ กำหนดนโยบายสถานศึกษาเป็นเขตปลอดอบายมุขชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือสัญลักษณ์ทั่วโรงเรียน กำกับติดตามและประเมินผลเรื่องอบายมุขในสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ชานนท์ คันธฤทธ. (2564). แนวทางการลดพฤติกรรมการกระทําความผิดคดียาเสพติดของเด็กและเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 1-12.
เชิดพงษ์ งอกนาวัง และทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ. (2565). ผลการดำเนินงานตามโครงการสถนศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขในโรงเรียนแก้งคร้อวิทยา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสาร Journal of MCU Ubon Review, 6(1), 265-276.
ธีรพงษ์ ชูพันธุ์. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 8(32), 263-273.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2562). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.
พระอธิการสุพิศ ทรงจิตร และคณะ. (2562). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบำบัดและลดปัญหาการกระทำผิดซ้ำของเยาวชนติดยาเสพติด: กรณีศึกษา วัดโนนสูงวนาราม ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 4(2), 47-62.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมาพร ลี้ภัยรัตน์. (2563). การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขโรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(2), 170-183.
อรทัย ธารแก้ว. (2562). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 16(72), 33-47.