การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขา ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พระพิทักษ์ จนฺทโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระฮอนด้า วาทสทฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • สัมฤทธิ์ กางเพ็ง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • สำเร็จ ยุรชัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา, ยุคดิจิทัล, หลักไตรสิกขา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตาม เพศ อายุ ตำแหน่งหน้าที่ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน และ 3) เสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดขอนแก่น ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 343 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการบริหารงานทั่วไป รองลงมา คือ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานงบประมาณตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ  2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา จำแนกตาม เพศ อายุ ตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา และระยะเวลาทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลแตกต่างกัน
3. แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ ใช้หลักอธิปัญญาเพื่อให้เกิดความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ พัฒนาให้ดีขึ้น สร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ใช้หลักอธิศีลเพื่อให้ถูกกฎระเบียบปฏิบัติ ความสุจริตของผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ ด้านการบริหารงานบุคคล ใช้หลักอธิจิตเพื่อให้เกิดความตั้งมั่นในงานรับผิดชอบ ความแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน สุขภาพจิตที่ดี และด้านการบริหารงานทั่วไป ใช้หลักอธิศีลเพื่อให้มีระเบียบวินัยในการทำหน้าที่รับผิดชอบกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2552 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

จุฑามาส จันทร์มณี. (2562). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาบุคลากรยุคดิจิทัลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระอนันต์ ธมฺมวิริโย (นามทอง) และคณะ. (2564). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 263-276.

ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 150-166.

ศศิตา เพลินจิต. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตประถมศึกษานครปฐม เขต 1. (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

อรุณี ทองนพคูณ. (2558). การศึกษาบทบาทการบริหารงานสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)