การพัฒนาเอกสารประกอบการสอนรายวิชาจริยธรรมและทักษะชีวิตในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

Main Article Content

สมคิด ดวงจักร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการการใช้เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจริยธรรมและทักษะชีวิตในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) หาประสิทธิภาพของการใช้เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจริยธรรมและทักษะชีวิตในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนการใช้เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจริยธรรมและทักษะชีวิตในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจการใช้เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจริยธรรมและทักษะชีวิตในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาจริยธรรมและทักษะชีวิต ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ มีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษามีความต้องการในการใช้เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจริยธรรมและทักษะชีวิต ได้แก่ ด้านบริบททั่วไป ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านปัจจัยกระบวนการ ด้านปัจจัยผลลัพธ์ ความสมบูรณ์ของเอกสาร ทักษะการสื่อสารของผู้สอนและทักษะการสื่อสารของนักศึกษา
2. ประสิทธิภาพของการใช้เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจริยธรรมและทักษะชีวิตในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.35/91.95 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
3. นักศึกษาที่ได้เรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจริยธรรมและทักษะชีวิตในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. ความพึงพอใจของนักศึกษาในการใช้เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจริยธรรมและทักษะชีวิตในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)
Author Biography

สมคิด ดวงจักร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

mcru

References

กันติชา แพงโสดา และสมทรง สิทธิ. (2565). การพัฒนาความสามารถการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักการออกแบบสื่ออย่างมืออาชีพ ด้วยวิธีการสอนแบบสาธิตร่วมกับบทเรียนออนไลน์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 9(2), 27-37.

จรัสวัฒน์ ไตรรัตน์. (2555). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลการเขียนหนังสือราชการภาษาอังกฤษ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จักรพันธุ์ จันทร์เจริญ. (2551). การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาโรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2554). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. เข้าถึงได้จาก http://www.slideshare.net/hamidahprincess/ss-39686436

ชุติมา สัจจานันท์ และคณะ. (2552). การพัฒนาชุดการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน. (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2549). เทคนิคการเขียนเค้าโครงวิจัย:แนวทางสู่ความสำเร็จ. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิต อินเตอร์ โปรแกรสซีฟ.

เดชาธร บงค์บุตร. (2565). การศึกษาเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเชิงรุก เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต สำหรัับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายใต้้สถานการณ์์การแพร่่ระบาดของเชื้อไวรััสโคโรนา 2019 (COVID-19). คุรุสภาวิทยาจารย์: วารสารเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู, 3(2), 50-65.

นรินธน์ นนทมาลย์ และคณะ. (2564). การสำรวจปัญหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของนิสิต. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 16(20), 61-73.

ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนัสนันท์ หัตถศักดิ์ และปิยวัตน์ ดิลกสัมพันธ์. (2564). การศึกษาสภาพปัญหา และความพึงพอใจในการเรียนรูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด19) ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 16(1), 202-213.

รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุล และคณะ. (2560). การศึกษาแนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 23(1), 147-167.

รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(8), 237-252.

สมัครสมร ภักดีเทวา และเอกนฤน บางท่าไม้. (2564). การเรียนรู้ยุคใหม่กับการเรียนการสอนออนไลน์ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 34(1), 1-18.

Alsalhi, N. R., et al. (2021). Does Blended Learning Improve the Academic Achievement of Undergraduate Students in the Mathematics Course?: A Case Study in Higher Education. EURASIA Journal of Mathematics, Science and Technology Educatio, 17(4), 1-14.

Care, E. (2018). Twenty-first century skills: From theory to action, In Assessment and Teaching of 21st Century Skills. Cham: Springer.

Chan, T. M. S., et al. (2022). Blueprint for Social Work Blended Learning Curriculum in the Chinese Context. Retrieved from DOI: https://doi.org/10.1177/10497315221137111

Minhas, W., et al. (2021). Establishing an Effective Blended Learning Model: Teacher Perceptions from the United Arab Emirates. SAGE Open, 11(4), 1-11.

Tong, D. H., Uyen, B. P., and Ngan, L. K. (2022). The effectiveness of blended learning on students' academic achievement, self-study skills and learning attitudes: A quasi-experiment study in teaching the conventions for coordinates in the plane. Heliyon, 8(12), 1-14.