การพัฒนากิจกรรมการปรับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง ทักษะชีวิต และความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
คำสำคัญ:
พฤติกรรมจริยธรรม, ความมีวินัย, ทักษะชีวิต, คุณค่าในตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนากิจกรรมการปรับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง ทักษะชีวิต และความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษา 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง และความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง หลังการพัฒนากิจกรรมที่มีเพศ คณะสังคมศาสตร์ และชั้นปี 3) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนากิจกรรมการปรับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ จำนวน 97 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความพึงพอใจ แบบวัดความมีวินัยในตนเอง แบบวัดทักษะชีวิต และแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง จำนวน 90 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t–test แบบ Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบ One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่แบบ (LSD) และวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การปฏิบัติตามแผนการพัฒนากิจกรรมการปรับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษาที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม ครบ 3 วัน และผ่านการประเมิน จำนวน 97 รูป/คน คิดเป็นร้อยละ 100
2. การพัฒนากิจกรรมการปรับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง ทักษะชีวิต ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง และมีความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. ผลการเปรียบเทียบนักศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีการปรับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักศึกษาที่มีคณะสังคมศาสตร์ต่างกัน จำแนกตามภาคปกติ และภาคพิเศษต่างกัน โดยรวม และรายด้านมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน นักศึกษาที่มีชั้นปีต่างกัน มีการปรับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมแตกต่างกัน โดยรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้ง
References
เกียรติวรรณ อมาตยกุล. (2553). สอนให้เป็นอัจฉริยะตามแนวนีโอฮิวแมนนิส. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประมวล รุจนเสรี. (2540). การช่วยเหลือประชาชนในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.
ประวิต เอราวรรณ์. (2551). วิจัยการศึกษาเบื้องต้น. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2549). นวัตกรรมการจัดหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปในมหาวิทยาลัยไทย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ. (2543). หอพักกับการพัฒนานิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย.
ศีลธรรม โพนะทา. (2538). การศึกษาพฤติกรรมที่เป็นปัญหาด้านคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านดงสวนพัฒนา กลุ่มโรงเรียนภูพาน สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอคำม่วง สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ปีการศึกษา 2538. (รายงานการวิจัย). กาฬสินธุ์: โรงเรียนบ้านดงสวนพัฒนา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). รูปแบบและภารกิจอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
สุจิตรา ตรีรัตนนุกูล. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์สำหรับส่งเสริมกรอบความคิด ด้านเชาวน์ปัญญาของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุมิตร สุวรรณ และคณะ. (2563). การพัฒนาพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม คณะศึกษาศาสตร์ และพัฒนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(3), 206-227.
อรุณรัสมิ์ บำรุงจิตร. (2550). การเปรียบเทียบทักษะชีวิต ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการสอนโดยการเรียนรู้ร่วมกันกับการสอนโดยวิธีปกติ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.