การพัฒนาชุดการสอน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติร่วมกับระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) โดยใช้อริยสัจ 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา
คำสำคัญ:
ชุดการสอน, ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์, อริยสัจ 4บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนาชุดการสอน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ชุดการสอน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ร่วมกับระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) โดยใช้อริยสัจ 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นการวิชัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา จำนวน 23 คน โดยอาศัยการเลือกแบบสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง แบบ True Control Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน (t-test dependent sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 4.34, S.D. = 0.12) ด้านการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนที่หลากหลายช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนอยู่ในระดับที่น้อยที่สุด ( = 1.02, S.D. = 0.14)
2. ผลการพัฒนาชุดการสอน คะแนนแบบฝึกหัดระหว่างใช้ชุดการสอน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติร่วมกับระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) โดยใช้อริยสัจ 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับโดยผลการพัฒนาชุดการสอน (E1/E2) เท่ากับ 90.00/82.07 ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จากการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน ปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติร่วมกับระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) โดยใช้อริยสัจ 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.34, S.D. = 0.12)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (ฉบับที่ 2). แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ขวัญชนก นัยจรัญ. (2564). การพัฒนาชุดการเรียนรูปตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวิจารณ์วรรณกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(3), 1-13.
บวรภัค รุจิเวชนันท์. (2561). การพัฒนาชุดการสอนเทคนิคการปฏิบัติทรอมโบนเบื้องต้น แบบฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติทรอมโบนเบื้องต้น. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(1), 190-203.
พระอธิการมาวิน จนฺทธมฺโม (อ้วนจี). (2561). การพัฒนาชุดการสอนสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมโดยใช้พุทธวิธีการสอน เรื่อง เบญจศีลเบญจธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านผึ้งวิทยาคม จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มนตรี กรมทํามา. (2562). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและผลลัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนอริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่านางแนววิทยายน จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มัสยา แสนสม. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยสอนแบบอริยสัจ 4. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุจินต์ ใจกระจ่าง. (2556). สภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Albert, L. R. & Billingsley, F. L. F. (2022). Using Strategy Instruction and Self-Regulation to Improve Gifted Students’ Creative Writing. Retrieved from https://shorturl.asia/BYvuj
McColeman, J. W. (1975). Relationship between the use of instructional media package: Group activities and the preferences of student toward the school study course. Dissertation Abstracts International, 36(1), 109-A.
Meek, E. B. (1972). Learning package versus conventional methods of instruction. Dissertation Abstracts International, 33(8), 4296-A.
Olson, J. (1975). The effect of learning packages on the continuous progress education pilot program in the Wanawha Country West Virginia School. Dissertation Abstracts International, 34(4), 1590-A.