การบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่ประสบความสำเร็จ: กรณีศึกษาศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดมงคลวราราม อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

จันทนา สิทธิพันธ์
รัตนา ดวงแก้ว
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถอดบทเรียนการบริหารจัดการศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดมงคลวราราม และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดมงคลวราราม กรณีศึกษา คือ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดมงคลวราราม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารศูนย์ คณะกรรมการบริหารศูนย์ ครู นักเรียน ผู้นำชุมชนและผู้ปกครอง จำนวน 25 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกเอกสาร แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง และแนวคำถามการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบคุณภาพข้อมูลด้วยการตรวจสอบแบบสามเส้า
ผลการวิจัยพบว่า
1. ถอดบทเรียนการบริหารจัดการศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดมงคลวราราม พบว่า ศูนย์ได้บริหารจัดการศึกษาจนประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย 1) ด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ การเตรียมตัวรับสถานการณ์โลกในศตวรรษที่ 21 บริบทชุมชนเอื้อต่อการบริหารจัดการ นโยบายและกฎระเบียบชัดเจน ภาครัฐและเครือข่ายส่งเสริมสนับสนุน การกำกับติดตามคุณภาพการจัดการศึกษามีมาตรฐาน 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ โครงสร้างการบริหารมีความชัดเจน ภาวะผู้บริหารมีความเข้มแข็ง คณะกรรมการมีวิสัยทัศน์ ครูมีคุณสมบัติที่เหมาะสม หลักสูตรมีมาตรฐาน และสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ 3) ด้านกระบวนการดำเนินการ ได้แก่ การกำหนดมาตรฐานศูนย์มีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลสนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชน การนิเทศกำกับติดตามเน้นการมีส่วนร่วม ผู้ปกครองและชุมชนมีความเข้มแข็ง และ 4) ด้านผลผลิตของการบริหารจัดการ ได้แก่ คุณภาพผู้เรียนได้มาตรฐาน การสอนของครูสอดคล้องตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู และความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กับผู้ปกครองและชุมชนมีความเข้มแข็ง
2. แนวทางการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดมงคลวราราม พบว่า ศูนย์ควรมีแนวทางการบริหารจัดการ ดังนี้ 1) พัฒนาโครงสร้างบริหารให้มีความยืดหยุ่น 2) เน้นภาวะผู้นำแบบบูรณาการ 3) พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะชีวิตที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง 4) ระดมทรัพยากรให้เพียงพอและเหมาะสม 5) สนับสนุนให้ครูนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และ 6) เสริมสร้างความสัมพันธ์กับเครือข่ายของศูนย์อย่างทั่วถึง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมการศาสนา, กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). แนวทางในการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ปีงบประมาณ 2554. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2562). หน่วยที่ 8 ผู้นำกับการพัฒนาคุณภาพการสึกษายุคใหม่. ใน ประมวลสาระชุดวิชา การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำหรับผู้นำทางการศึกษา หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัตนา ดวงแก้ว. (2557). หน่วยที่ 11 การพัฒนาคุณภาพการศึกษา. ใน ประมวลสาระชุดวิชา นโยบาย การวางแผน และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา หน่วยที่ 11-15. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561- 2580 ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา. เข้าถึงได้จาก https://drive.google.com/file/d/1XSBMp8OCsauJqECOB-XZLB91-cRrNsEV/view