การจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โรงเรียนประภัสสรวิทยา วัดศรีนวล จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, หลักอริยสัจ ๔,บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 2) เปรียบเทียบการจัดการการเรียนรู้ จำแนกตามเกรดเฉลี่ย อายุ และระดับชั้นเรียน และ 3) เสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ รูปแบบวิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม เป็นการผสมผสานวิจัยระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ นักเรียนโรงเรียนประภัสสรวิทยา วัดศรีนวล จังหวัดของแก่น จำนวน 160 รูป ใช้ระดับชั้นเป็นหน่วยสุ่ม เป็นการสุ่มอย่างง่าย จึงได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 78 รูป ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-way ANOVA) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา โรงเรียนประภัสสรวิทยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ผลการเปรียบเทียบการจัดการเรียนตามหลักอริยสัจ 4 จำแนกตามเกรดเฉลี่ย อายุ และระดับชั้นเรียน มีระดับการปฏิบัติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา โรงเรียนประภัสสรวิทยา วัดศรีนวล จังหวัดขอนแก่น พบว่า ควรจัดการเรียนที่สามารถให้นักเรียนกำหนดรู้ถึงปัญหาในการเรียนสามารถแก้ไขปัญหาในการเรียนได้ จัดการเรียนรู้ที่หลากหลายกระตุ้นนักเรียนให้เกิดอยากเรียนรู้อยากเรียน สอนให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ มีหลักการคิดอย่างเป็นขั้นตอน และสร้างความตระหนักและสอนให้นักเรียนแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
พระครูปลัดศักดิ์ มหาวีโร (โกศลสุภวัฒน์). (2563). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามหลักอริยสัจ 4 สำหรับนักเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระรุ่งโรจน์ ถิรปุญโญ (รักราษฎร์). (2563). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระกฤษณะ วชิรญาโณ (วภักดิ์เพชร). (2560). การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาประเสริฐ ชาตเมธี (โนไธสง). (2561). การใช้วิธีสอนแบบอริยสัจสี่ในสาระพระพุทธศาสนา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหลักร้อย จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พรวิไล สุขมาก. (2564). ประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 ผสมผสานวัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ไทยสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 ด้านสังคมศาสตร์และมุนษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ การจัดการ และศิลปะ, 30 เมษายน 2564, (หน้า 74- 84). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
วาสนา จินดาสวัสดิ์ และคณะ. (2564). นวัตกรรมการเรียนการสอนตามหลักอริยสัจ 4. วารสารภาวนาสารปริทัศน์, 1(2), 41-52.
วันศิริ ก่อเกียรติอาภา. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 โดยใช้โครงงานเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
Devi, K. S., Lakshmi, V. V. & Aparna, M. (2020). Moodle-An Effective Learning Management System for 21 st Century Learners. Alochana Chakra Journal, 9(6), 4474-4485.
Joyce, B., et al. (2009). Model of Teaching. (8th ed.). New York: Allyn and Bacon.
Sumitha. P and Siva Prasadh, R. (2022). Learning Styles of Secondary School Students. Journal of Positive School Psychology, 6(8), 9088-9099.