การศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธจริยศาสตร์ในงานบุญผะเหวดของชาวจังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
หลักพุทธจริยศาสตร์, บุญผะเหวด, ชาวจังหวัดร้อยเอ็ดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเพณีบุญผะเหวดในบริบทของชาวจังหวัดร้อยเอ็ด 2) ศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการทำบุญในพระพุทธศาสนา และ 3) วิเคราะห์หลักพุทธจริยศาสตร์ในงานบุญผะเหวดของชาวจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระสงฆ์ นักวิชาการทางศาสนา ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไป ชาวจังหวัดร้อยเอ็ด รวมทั้งสิ้น 20 คน โดยศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก เอกสารทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือวิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประเพณีบุญผะเหวดในบริบทของชาวจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในเดือนสี่และจัดอยู่ในฮีตที่สี่ของประเพณีสิบสองเดือนอีสานเป็นประเพณีที่แฝงไปด้วยปรัชญา คติธรรม ความเชื่อ และหลักการปฏิบัติของชาวร้อยเอ็ดได้อนุรักษ์ สืบสานและได้พัฒนา ประเพณีบุญผะเหวดจนกลายเป็นเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของชาวร้อยเอ็ดและยังเป็นประเพณีที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรม ประเพณีและการดำเนินชีวิตของชาวร้อยเอ็ดโดยเฉพาะในหมู่ยาวชนคนรุ่นใหม่
2. หลักพุทธจริยศาสตร์ในงานบุญผะเหวดของชาวจังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา หลักปฏิบัติที่เป็นจุดหมายของผู้ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจะต้องบำเพ็ญบารมีให้เต็มสำหรับพระเวสสันดรเป็นชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า สำหรับชาติที่เกิดเป็นพระเวสสันดร เป็นชาติที่ต้องบำเพ็ญทานบารมีให้เต็ม หลักพุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในบุญผะเหวด คือ การให้ทาน
3. วิเคราะห์หลักพุทธจริยศาสตร์ในงานบุญผะเหวดของชาวจังหวัดร้อยเอ็ด คือผู้วิจัยวิเคราะห์คุณค่าทางพุทธจริยศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งประกอบไปด้วยคุณค่าทางด้านพุทธศาสนา คุณค่าทางด้านศีลธรรม คุณค่าทางด้านคุณธรรม คุณค่าทางด้านจริยธรรม ที่เป็นหลักพัฒนามนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทัศนะของพุทธศาสนา
References
กังวล คัชชิมา. (2555). มหาชาติคำหลวง: ความเกี่ยวโยงกับเวสสันดรชาดกในกัมพูชา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชาญคณิต อาวรณ์. (2556). เวสสันดรชาดก: จิตรกรรมกับประวัติศาสตร์สังคมลานนา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปรีชา พิณทอง. (2534). ประเพณีโบราณไทยอีสาน. (พิมพ์ครั้งที่ 7). อุบลฯ: ศิริธรรมออฟเซ็ท.
พระครูปลัดพร ปิยธมฺโม. (2549). การศึกษาเชิงวิเคราะห์คติความเชื่อของชาวอีสานที่มีต่อประเพณีบุญผะเหวด: ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาดีรัตน์ อุทยปุตฺโต, พระครูปริยัติคณานุรักษ์ และเจ้าอธิการสุริยนต์ ทสฺสนีโย. (2561). ประเพณีบุญผะเหวดกับอัตลักษณ์ด้านศีลธรรมของชาวอีสาน. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 2(3), 41-54.
พระลือชัย อินฺทยโส (นราทอง). (2549). ศึกษาการให้ทานของชาวพุทธในจังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุจิตต์ วงษ์เทพ. (2566). เทศน์มหาชาติมาจากไหน? เทศน์มหาชาติเป็นทำนองไม่มีในอินเดีย-ลังกา. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedial.org