การศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธจริยศาสตร์เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรมตามแนวหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

ผู้แต่ง

  • พระอนุชา อธิปญฺโญ (อรบุตร) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูสีลสราธิคุณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระเทพวชิรวิมล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

หลักพุทธจริยศาสตร์, การปฏิบัติธรรม, หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติและแนวการปฏิบัติธรรมตามแนวหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต 2) ศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์เกี่ยวกับส่งเสริมการปฏิบัติธรรม และ 3) วิเคราะห์หลักพุทธจริยศาสตร์เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรมตามแนวหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการค้นคว้าแบบวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประวัติและแนวการปฏิบัติธรรมตามแนวหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ถือธุดงควัตร 13 และให้ความสำคัญในการอยู่ป่าเป็นวัตรมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมาก ท่านเป็นผู้ถือเคร่งครัดในข้อวัตรปฏิบัติได้แสวงหาวิเวกบำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ ตามราวป่า ป่าช้า หุบเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ ธารเขา แนวทางการปฏิบัติของท่าน คือการอบรมจิตใจ รู้จักวิธีปฏิบัติต่อตนเองและสิ่งทั้งหลาย เป็นต้น
2. หลักพุทธจริยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการปฏิบัติธรรม โดยใช้หลักไตรสิกขา หลักอานาปานสติ หลักสติสัมปชัญญะ เป็นต้น
3. วิเคราะห์หลักพุทธจริยศาสตร์เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรมตามแนวหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลักไตรสิกขาเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรม วิเคราะห์หลักอานาปานสติเพื่อส่งเสริมสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน หลักสติสัมปชัญญะเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรม

References

บรรพต แคไธสง และพระมหาภิรัฏฐกรณ์ อํสุมาลี. (2558). การศึกษาวิเคราะห์เชิงจริยศาสตร์ในการปฏิบัติกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศรีวรญาณ วิ. (2554). หลักการปฏิบัติกัมมัฏฐานในพระไตรปิฎก ในเก็บเพชรจากพระไตรปิฎก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต. (2545). บูรพาจารย์. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)