พุทธวิธีในการพัฒนาภาวะผู้นำครอบครัวในสังคมไทย

Main Article Content

พระดำรงค์ สุมงฺคโล
พระครูพิศาลสารบัณฑิต

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ ศึกษาเกี่ยวกับครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญในการเป็นอยู่ที่ดี การอยู่ร่วมที่ดีต้องมีผู้นำหรือผู้คอยให้คำปรึกษาให้คำแนะนำภายในครอบครัวและต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ดังนั้นหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยในการพัฒนาผู้นำครอบครัว ถึงแม้จะยุคสมัยใหม่ก็ตามแนวทางปฏิบัติก็ยังนำมาประยุกต์ใช้ได้ ในบทความนี้จะให้แนวทางปฏิบัติในรูปแบบพุทธวิธีเพื่อให้เกิดประโยชน์ในส่วนร่วมให้ดีที่สุด ทั้งเรื่องการฝึกอบรมตนเองและเป็นบุคคลตัวอย่างที่มีกาย วาจาใจ เป็นที่รักและเคารพของคนในครอบครัวและผู้อื่น สามารถเป็นผู้นำได้โดยการนำหลักเบญจศีล และหลักไตรสิกขาเป็นพื้นฐานการฝึกอบรมบ่มนิสัย ทางจิตใจ รวมไปถึงการใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เจอในการดำเนินชีวิตประจำวัน และช่วยให้คำแนะนำแก่ครอบครัวของตนเอง ผู้นำยุคสมัยใหม่ มีทั้งชายหญิง ต่างคนล้วนมีความสามารถด้วยเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่จะดำรงรักษาครอบครัวของตนให้มีความสุข สงบร่มเย็น เมื่อเข้าใจซึ่งกันและกันแล้วก็ทำให้เป็นกุศลร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

จํารัส พรหมบุตร. (2565). การพัฒนามนุษย์ตามพุทธวิธี. วารสารพุทธจิตวิทยา, 7(1), 13-18.

จิราพร ชมพิกุล และคณะ. (2552). สัมพันธภาพในครอบครัวไทย. (รายงานการวิจัย). นครปฐม: สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทิศนา แขมมณี. (2546). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เสริมสิน พรีเพรส ซิสเท็ม.

ประยูร วงศ์จันทรา. (2552). พุทธวิธีการสอนจริยธรรม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(3), 159-165.

พระกิตติภัทธ กิตฺติภทฺโธ (อนันต์เมธากุล). (2561). ความสัมพันธ์ปัจจัยจิตสังคมที่มีต่อพฤติกรรมตามหลักเบญจศีลเบญจธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฒโน. (2562). พุทธวิธีการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารธรรมวิชญ์, 2(2), 325-337.

พระใบฎีกาธีรศักดิ์ สุธีโร (น้อยอ่อน). (2560). ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท โรงเรียนกระสังพิทยาคม ตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). ภาวะผู้นํา. (ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พระเอกนรินทร์ อาภากโร. (2561). การประยุกต์ใช้หลักเบญจศีลเบญจธรรมในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในโรงเรียนเทศบาลตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 9(1), 82-93.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2545). จิตวิทยาการปรับตัว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วันทนา เนาว์วัน. (2557). การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 3. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศุภกร จันทราวุฒิกร. (2562). การศึกษาและพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขาเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารและหัวหน้างานองค์กร. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2538). เบญจศีลเบญจธรรม. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุหัชชา พิมพ์เนาว์. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาผู้เรียน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.