แนวความคิดทางการเมืองการปกครองที่ปรากฏในหลักปูมราชธรรม

ผู้แต่ง

  • พระครูวินัยธร วรชัด ทะสา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • พระศิลาศักดิ์ สุเมโธ (บุญทอง) มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระมหาไทยน้อย ญาณเมธี (สลางสิงห์) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

แนวความคิด, การเมืองการปกครอง, หลักปูมราชธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประเด็นแนวความคิดและหลักการทางการเมืองการปกครองที่ปรากฏในหลักปูมราชธรรมของผู้ปกครอง และแนวความคิดผู้ปกครองและด้านคุณธรรมที่ปรากฏในหลักปูมราชธรรม ซึ่งเป็นหลักความคิดที่สำคัญในประวัติศาสตร์ ทางการเมืองการปกครอง แสดงให้เห็นว่า แนวความคิดทางการเมืองการปกครองที่มีอิทธิพลต่อบริบทสภาพแวดล้อมทางการเมืองการปกครองที่นำมาประยุกต์ใช้ตามคำสอนทางพระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ที่มีลักษณะความสัมพันธ์รูปแบบเชิงอำนาจเพื่อความชอบธรรมในการใช้พลังอำนาจ เพื่อการปกครองที่สามารถอธิบายทำความเข้าใจความชอบธรรมในฐานะผู้ปกครองที่สามารถสร้างความสมดุล ฉะนั้นตามหลักปูมราชธรรมจะต้องเป็นรูปแบบหรือแนวทางการให้คำแนะนำและการใช้อำนาจของเจ้าผู้ปกครองนครรัฐนั้นๆ เพื่อให้เกิดความชอบธรรมประกอบด้วยหลักพระพุทธศาสนา และหลักศาสนาพราหมณ์ ที่ถือเป็นคติธรรมเพื่อการปกครองประชาราษฎร์อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขแบบอย่างยั่งยืน

References

กรมศิลปากร. (2545). ปูมราชธรรม. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

กานต์ บุญยกาญจน. (2562). มาคิอาเวลลี การเมืองไทยของเจ้าผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ: มติชน.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2519). ความคิดทางการเมืองการปกครองไทยโบราณ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2561). อยุธยา: ประวัติศาสตร์และการเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย และมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

บุญเตือน ศรีวรพจน์. (2545). ปูมราชธรรม. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

ศรีนวล ภิญโญสุนันท์. (2528). พิธีราชาภิเษกในคติอินเดียและไทย: การศึกษาเปรียบเทียบ. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเกียรติ วันทะนะ. (2561). โลกที่คิดว่าคุ้นเคย?: ความคิดทางการเมืองไทยสมัยกรุงศรี อยุธยา พ.ศ. 1893-2310. กรุงเทพฯ: ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมบัติ จันทรวงศ์ และชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2523). ความคิดทางการเมืองและสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ดวงดี.

สุรพศ ทวีศักดิ์. (2562). มาคิอาเวลเลียนกับพุทธไทย. เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2019/04/82089

อาวุธ เงินชูกลิ่น. (2545). ปูมราชธรรม. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-28

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Article)