ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์การสุขภาพดีของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่

Main Article Content

พรรณราย จันทราชา
เก็จกนก เอื้อวงศ์
อาจารี คูวัธนไพศาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความฉลาดในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่  2) ศึกษาระดับการเป็นองค์การสุขภาพดีของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์การสุขภาพดีของสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ จำนวน 127 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง  เครจซีและมอร์แกน แล้วสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับความฉลาดในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นองค์การสุขภาพดีของสถานศึกษาที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .90  และ .95 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์ของสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความฉลาดในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของผู้บริหารสถานศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ การอดทนต่อความยืดเยื้อของปัญหา ส่วนด้านที่อยู่ในระดับมาก คือ การรับรู้ขอบเขตผลกระทบของปัญหา การรับรู้สาเหตุและความรับผิดชอบ และการควบคุมสถานการณ์
2. การเป็นองค์การสุขภาพดีของสถานศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ บรรยากาศในการทำงานแบบเปิด ส่วนด้านอยู่ในระดับมาก คือ ภาวะผู้นำฉันท์เพื่อนร่วมงาน ความสามารถในการปรับตัว การสนับสนุนและจัดสรรทรัพยากรที่ดีและการติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ความฉลาดในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์การสุขภาพดีของสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .84 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2562). การสื่อสารในสถานศึกษายุคดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(1), 125-132.

นรากร มั่นแก้ว. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์กรของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา, 7(1), 43-55.

ธันยพร เฟื่องวัฒนศิริ. (2557). การศึกษาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. การประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 31, 16 กรกฎาคม 2557, (หน้า 246-254). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วิไลวรรณ ทองดี. (2558). ความฉลาดทางอารมณ์และความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สราวุธ ตรีโรจน์พร. (2559). ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 4(3), 28-37.

สุธาศินี ธนสงวนวงศ์. (2562). ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาองค์กรสุขภาวะในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566. กระบี่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่.

อมรรัตน์ จินดา. (2558). สภาพปัญหาและแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสาหรับสถานศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 395-407.

อมรวรรณ เวชกามา. (2563). ความฉลาดในการแก้ไขอุปสรรคของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Burton, J. (2010). WHO Healthy Workplace Framework and Model: Background and Supporting Literature and Practice. Geneva, Switzerland: World Health Organization.

Beck, D. E., & Cowan, C. C. (1996). Spiral Dynamics. Mastering values, leadership, and change. Cambridge, MA: Blackwell Business.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Hoy, W. K., and Miskel, C. G. (1991). Educational Administrati on Theory, Research, and Practice. (3rd ed.). New York: Random House.

Milstein and Belasco, J. A. (1973). Educational Administration and the Behavioral Science: A System Perspective. Boston: Allyn and Bacon.

Stoltz, P. G. (1997). Adversity Quotient: Turning Obstacles into Opportunities. Retrieved from https://www.scirp.org/reference/referencespapers?referenceid=2612828