ยุทธศาสตร์ผู้นำกับการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะแบบร่วมมืออย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • เรียงดาว ทวะชาลี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผู้นำ, การบริหารจัดการท้องถิ่น, เมืองอัจฉริยะ, ความยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ผู้นำในการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะแบบร่วมมืออย่างยั่งยืนโดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเกี่ยวกับ บทบาทสำคัญของผู้นำในการสร้างความร่วมมือและยั่งยืนและหน้าที่สำคัญของผู้นำในการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและการรับผิดชอบที่มากขึ้นในการกำหนดและส่งเสริมนโยบายและแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับเมืองอัจฉริยะมุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมที่ยั่งยืนและเชื่อมโยงกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นโดยมีการสร้างความเชื่อมั่นและความเข้าใจในแผนการและนโยบายที่มีการสร้างเมืองอัจฉริยะโดยการเปิดโอกาสให้กับประชาชนในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ผู้นำควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารและการสร้างสรรค์ช่องทางการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมในกระบวนการตัดสินใจ เพราะความเป็นผู้นำมีบทบาทสำคัญในบริบทของการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เฉพาะ เช่น เมือง ภูมิภาค หรือชุมชน ความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการชี้แนะและอำนวยความสะดวกในการพัฒนาภาวะผู้นำถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาท้องถิ่น ผู้นำในบริบทนี้จะต้องมีวิสัยทัศน์ มุ่งเน้นชุมชน ร่วมมือกันในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีในพื้นที่ของตน ผู้นำที่ดีสามารถบริหารจัดการทรัพยากรและบุคลากรอย่างมืออาชีพวางแผนและดำเนินการให้สอดคล้องกับเป้าหมายและยุทธศาสตร์ของชาติสามารถแสดงความความน่าเชื่อถือและมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเป็นตัวอย่างให้คนในท้องถิ่นและสามารถชักชวนให้ปฏิบัติตามเพื่อสร้างความมั่นใจให้คนในท้องถิ่น

References

จรูญ เจริญเนตรกุล และคณะ. (2564). การพัฒนาศักยภาพพื้นที่เมืองและโครงสร้างพื้นฐานรองรับยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะของเทศบาลนครสงขลา. (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

นฤมล จิตรเอื้อ. (2560). บทบาทภาวะผู้นำในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1738-1754.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2546). ภาวะผู้นำความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พิชญ์ณิฐา พรรณศิลป์ และคณะ. (2558). บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นในศตวรรษที่ 21. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 3(2), 146-161.

มหาวิทยาลัยรังสิต. (2566). ทัศนวิสัยของผู้นำที่ดี. เข้าถึงได้จาก https://rbs.rsu.ac.th

วงษ์สิริ เรืองศรี และคณะ. (2565). การเสริมศักยภาพผู้นําจิตอาสาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทชุมชนประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(7), 16-32.

สมพงษ์ เกศานุช และคณะ. (2562). บทบาทผู้นำกับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาชุมชน. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 1(3), 293-306.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Article)