การดำรงอยู่ของวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ในนราธิวาส กรณีศึกษา ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • นัทธมน ราชเสน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • ณัฏฐินี ปิยะศิริพนธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วสิน ทับวงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

การดำรงอยู่, วัฒนธรรม, อีสาน, นราธิวาส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ในจังหวัดนราธิวาสซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในระดับชุมชนอันเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยทำการศึกษาผ่านมิติความสัมพันธ์ในระดับชุมชนที่เกิดขึ้นและยังคงดำรงอยู่ในพื้นที่ชุมชนโต๊ะโม๊ะ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุ กลุ่มชาวบ้าน และเยาวชน
ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ความเป็นมลายูมุสลิมของคนในชุมชนยังคงดำรงอยู่อย่างเข้มแข็งควบคู่ไปกับการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมอีสาน โดยมีปัจจัยสำคัญคือ การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทั้งเรื่องการตั้งถิ่นฐาน และการประกอบอาชีพระหว่างคนมลายูพื้นถิ่นกับผู้ที่เข้าไปตั้งรกรากใหม่ไม่มีการทับซ้อนกัน และเป็นไปด้วยความสมัครใจ รวมถึงการปรับตัวในการอยู่ร่วมกันจนเกิดการยอมรับวัฒนธรรมใหม่ที่เกิดขึ้นซึ่งไม่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมเดิมทำให้สามารถยึดโยงคนในชุมชนที่มีความหลากหลายเข้าไว้ด้วยกันได้

References

จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2549). การดำรงอยู่ของเพลงพื้นบ้านและคุณลักษณะต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน: กรณีศึกษา เพลงอีแซว ชุมชนบ้านลาดป่อม ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์. (2546). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ. เชียงใหม่: ตรัสวิน (ซิลค์เวอร์มบุคส์).

เรณุมาศ รอดเนียม. (2556). ความกลมกลืนทางวัฒนธรรมในชุมชนสองศาสนา: กรณีศึกษา ชุมชนตะโหมด อําเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วรินดา พันธ์น้อย. (2552). การดำรงอยู่และปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของประชาชนในสังคมพหุวัฒนธรรมกรณีศึกษาชุมชนบุ่งกะแทว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วุฒิกรณ์ ชูวัฒนานุรักษ์. (2549). การก่อการร้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคหลังสงครามเย็น: วิเคราะห์แนวคิด “การก่อการร้าย” และขบวนการก่อการร้ายในไทยและฟิลิปปินส์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรพรรณ ภมรสุวรรณ. (2544). การมีส่วนร่วมของสมาชิกนิคมในการจัดการนิคมสร้างตนเองเพื่อการพึ่งพาตนเอง: ศึกษานิคมสร้างตนเองภาคใต้ตามแผนถอนสภาพนิคม. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)