แมวของชเรอดิงเกอร์และการตีความเรื่องพหุจักรวาล
คำสำคัญ:
แมวของชเรอดิงเกอร์, พหุจักรวาล, การตีความบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทฤษฎีแมวของชเรอดิงเกอร์ และแนวคิดพหุจักรวาล 2) วิเคราะห์การตีความทฤษฎีแมวของชเรอดิงเกอร์กับแนวคิดพหุจักรวาล เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทฤษฎีแมวของชเรอดิงเกอร์ และ แนวคิดพหุจักรวาล พบว่า ทฤษฎีแมวของชเรอดิงเกอร์ คือ การทดลองทางความคิดในทางกลศาสตร์ควอนตัมแบบโคเปนเฮเกน โดยนักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย ชื่อ แอร์วิน ชเรอดิงเกอร์ เป็นการอธิบายสถานะของอะตอม หรือสิ่งที่เป็นอนันต์ ซึ่งอาจอยู่ในสถานะทั้งหมดพร้อมกันจนกว่าจะมีการวัด หรือสังเกตการณ์ โดยตัวอย่างในการทดลอง คือ ตัวแมวที่อยู่ในกล่อง ก่อนที่จะมีการวัด แมวจะอยู่ในสถานะทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิตพร้อมกัน ซึ่งทำให้เกิดการทับซ้อนความเป็นจริงในสถานะของแมว ภายหลังนักฟิสิกส์ ชื่อ ฮิว เอเวอรเรต เสนอทฤษฎีการตีความแบบหลายโลก เพื่อแก้ปัญหาสภาวะทับซ้อนดังกล่าว เป็นที่มาของแนวคิดจักรวาลคู่ขนานและพหุจักรวาล
2. การตีความทฤษฎีแมวของชเรอดิงเกอร์กับแนวคิดพหุจักรวาล พบว่า เมื่อพิจารณาการตีความตามกรอบของตรรกศาสตร์ตะวันตก มีลักษณะการใช้เหตุผลแบบอุปนัย และ จัดเข้าในประเภท อุปมาณประมาณ ตีความตามตรรกศาตร์อินเดีย ทฤษฎีแมวของชเรอดิงเกอร์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญทางปรัชญา ในการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับจักรวาลคู่ขนาน และพหุจักรวาล เพื่อการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของสถานะที่แตกต่างกันแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันได้ ในขณะที่เราสังเกตเห็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
References
ชัชชัย คุ้มทวีพร. (2539). ตรรกวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
พระมหาบุญไทย ด้วงวงศ์. (2540). การใช้เหตุผลทางตรรกะในพระไตรปิฎก. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฒิกโร (พรรณนา). (2560). การตีความในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์. (2543). ทฤษฎีความรู้. เชียงใหม่: โครงการสนับสนุนงานวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2532). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ.
ลักษณวัต ปาละรัตน์. (2546). ตรรกวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สยาม ราชวัตร. (2553). วิธีอ้างเหตุผลเพื่อยืนยันความมีอยู่ของโลกหน้าในพุทธศาสนาเถรวาท. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สรกานต์ ศรีตองอ่อน. (2558). พุทธจักรวาลวิทยา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ธรรมะ.
สิขรินทร์ อยู่คง. (2556). แมวของชเรอดิงเงอร์ (Schrödinger’s Cat). เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/67VlO
Blaber, R. M. (2023). The Emperor’s New Schrödinger's Cat. Retrieved from https://doi.org/10.31235/osf.io/w4mct
Gribbin, J. (1991). In Search of Schrödinger's Cat: Quantum Physics and Reality. London: Black Swan edition published.
_______. (1995). Schrödinger's Kittens and the Search for Quantum Reality. New York: Little, Brown & Company.
Hawking, S. (2001). The Universe in a Nutshell. New York: Bantam Books.
Herbert, N. (2011). Quantum Reality: Beyond the New Physics. Knopf Doubleday Publishing Group.
Hossenfelder, S. (2015). Head Trip. Scientific American, 313(3), 46-49.
Macquarie University. (2014). Experiment makes Schrodinger's cat choose things can be real, or certain, but not both. Retrieved from https://phys.org/news/2014-09-schrodinger-cat-choosethings-real.html
Tegmark, M. (2003). Parallel Universe. Scientific American journal, 288(5), 40-51.
Woudenberg, R. V. (2021). The Epistemology of Reading and Interpretation. United Kingdom: Cambridge University Press.
Yale University. (2023). Physicists can predict the jumps of Schrodinger's cat (and finally save it). Retrieved from https://phys.org/news/2019-06-physicists-schrodinger-cat.html