การวิเคราะห์ความสุขในปรัชญาอัลแบร์ กามูส์

Main Article Content

ณัฏฐิญา ตันทสุข
จรัส ลีกา
พระครูศรีปริยัติบัณฑิต
พระมหาปรเมศวร์ ประพิณ
พระมหาใจสิงห์ สิริธมฺโม
พระครูสีลสราธิคุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับความสุขในเชิงปรัชญา 2) ศึกษาความสุขในปรัชญาอัลแบร์ กามูส์ 3) วิเคราะห์ความสุขในปรัชญาอัลแบร์ กามูส์ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษาข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และวิเคราะห์ นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสุขเป็นการเข้าถึงเป้าหมายของชีวิต และการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าด้วยการสร้างประโยชน์แก่ตนเอง และสังคม ความสุขนี้เป็นการใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าด้วยความไม่ประมาท ที่นำไปสู่การเรียนรู้คุณค่า และสร้างคุณค่าแก่ชีวิต
2. ความสุขในปรัชญาอัลแบร์ กามูส์ เป็นความสุขที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกของมนุษย์ ในการสร้างคุณค่า และความหมายของชีวิต ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ที่มนุษย์เผชิญอยู่ ความสุขที่ถูกต้องจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่มนุษย์สามารถเลือกให้แก่ตน
3. ความสุขในปรัชญาอัลแบร์ กามูส์ มีบ่อเกิด 2 ทาง คือ ความสุขทางใจ และความสุขทางกาย ความสุขทางใจเป็นความสุขที่เกิดจากภายในด้วยการเข้าใจสภาวะของโลก และชีวิต ที่เต็มไปด้วยความไร้สาระ ที่ทุกอย่างมีความเป็นไปได้เสมอ เมื่อเข้าใจสภาวะเช่นนี้จึงทำให้มนุษย์มีความสุข และความสุขทางใจนี้จะมีผลทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมออกมาเพื่อแสวงหาความสุขทางกาย และในที่สุดจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่สมดุลระหว่างกาย และใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กีรติ บุญเจือ. (2522). ปรัชญาศิลปะ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ช่อทิพย์ สุวรรณานนท์. (2521). การวิเคราะห์เกี่ยวกับเอ็กซิสเทนลิสม์ในงานวรรณกรรมของอัลแบร์ กามูส์. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสารมิตร.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2547). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

บุญมี แท่นแก้ว. (2536). ปรัชญาศาสนา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ภูริณัฐ พฤกษ์เนรมิต และพัชลินจ์ จีนนุ่น. (2564). การ เปลื้อง เปลือย จิตใจมนุษย์ผ่านเรื่องเล่าในมนุษย์สองหน้าของอัลแบร์ กามูส์ กับผีอยู่ในบ้านของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12, 25 มิถุนายน 2564 (หน้า 297-310). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

มณเฑียร อรรถวาที. (2560). ความสุขและความทุกข์ในทัศนะของเจรามี เบนธัม: การศึกษาเชิงวิพากย์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์, 6(2), 425-440.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วันชาติ ชาญวิจิตร และหอมหวล บัวระภา. (2554). เป้าหมายของชีวิตมนุษย์ในทัศนะของอัลแบร์ กามูส์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิทย์ วิศเวทย์. (2532). จริยศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญ.

วศิน อินทสระ. (2527). จริยศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

สุพัตรา คำแก้ว. (2554). แนวคิดเรื่องมนุษย์ของอัลแบร์ กามูส์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Camus, A. (1942). L'ÉTRANGER. Roman. Paris: Les Editions Gallimard.

Mill, J. S. (2006). Encyclopedia of Philosophy. (2nd ed.). Detroit, MI: Macmillan Reference USA.