การศึกษาวิเคราะห์จริยศาสตร์แนวประโยชน์นิยมเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของศาสนิกชนระหว่างศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระกฤตกร กิตฺติกโร (สุรำไพ) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูสีลสราธิณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สงวน หล้าโพนทัน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

จริยศาสตร์แนวประโยชน์นิยม, ส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน, ศาสนิกชนระหว่างศาสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีของจริยศาสตร์แนวประโยชน์นิยม 2) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของศาสนิกชนระหว่างศาสนา และ 3) วิเคราะห์จริยศาสตร์แนวประโยชน์นิยมเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของศาสนิกชนระหว่างศาสนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก เอกสารทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประโยชน์นิยมเป็นทัศนะทางจริยศาสตร์ที่ถือเอาประโยชน์สุขเป็นเกณฑ์ตัดสินการกระทำที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขมากที่สุดแก่คนจำนวนมากที่สุด แนวคิดทางจริยศาสตร์ของประโยชน์นิยมยอมรับหลักประโยชน์หรือหลักมหสุข ความสุขในทัศนะของแนวคิดประโยชน์นิยม คือ ความพึงพอใจ ความเพลิดเพลิน และความสนุกสนานอันปราศจากความทุกข์
2. การอยู่ร่วมกัน คือ กลุ่มคนอย่างน้อยสองคนขึ้นไปมาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณหนึ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ความสัมพันธ์ทางตรง เช่น การพูดจา ทักทาย การทำงานร่วมกัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันสองศาสนา จัดเป็นการอยู่ร่วมกันแบบสังคมพหุวัฒนธรรม จะต้องมีหลักของศาสนาเข้ามาใช้ในการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสันติสุขในการอยู่ร่วมกัน
3. เมื่อวิเคราะห์จริยศาสตร์แนวประโยชน์นิยมเพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของศาสนิกชนระหว่างศาสนาแล้ว ทำให้ทราบว่า สุขหรือความสุข ได้แก่ ความสะดวก ความสบายทั้งกายใจ หรือความปลอดโปร่งโล่งใจ โดยที่ความสุขของคนส่วนใหญ่นั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์การตัดสินตามมหสุข 4 ประการ คือ 1) กระทำที่ก่อให้เกิดความสุขมากที่สุดแก่คนจำนวนมากที่สุด 2) เกิดความพึงพอใจ มีลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ที่ดีงามในระหว่างอยู่ร่วมกัน 3) เกิดความปรารถนาดี และ 4) ความพึงพอใจของปัจเจกบุคคลกับความพึงพอใจของสังคม ซึ่งเป็นหลักของการกระทำที่เป็นพื้นฐานของประโยชน์นิยม คือ การกระทำที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่คนส่วนใหญ่

References

โคทม อารียา. (2565). การใช้สันติวิธีเพื่อแก้ไขความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในสันติวิธีจากมุมมองศาสนา. กรุงเทพฯ: มติชน.

พระชัยยะ โกมโล และจรัส ลีกา. (2565). การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(4), 96-104.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2555). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจําชาติ. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระมหาชัยยันต์ จตฺตาลโย. (2551). อุดมคติชีวิตตามหลักพุทธจริยศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ฟ้าพิไล หยงสตาร์. (2548). ความขัดแย้งระหว่างฮินดูกับมุสลิมที่นำไปสู่การก่อตั้งประเทศปากีสถาน ค.ศ. 1906-1947. (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ริยา เด็ดขาด. (2546). เสรีภาพในการถือศาสนา และการเผยแพร่ศาสนาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำเนียง ยอดคีรี. (2560). จริยศาสตร์, จริยธรรม และคุณธรรม ตามแนวความคิดของนักปรัชญา. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 22(2), 37-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)