การศึกษาวิเคราะห์ความงามของพระพุทธรูปไม้ตามหลักสุนทรียศาสตร์ในตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
พระพุทธรูปไม้, ความงามของพระพุทธรูปไม้, หลักสุนทรียศาสตร์, ความงามทางสุนทรียศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติพัฒนาการและการสร้างพระพุทธรูปไม้ของชาวตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) ศึกษาเกณฑ์การตัดสินความงามในทางสุนทรียศาสตร์ และ 3) วิเคราะห์ความงามของพระพุทธรูปไม้ตามหลักสุนทรียศาสตร์ในตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระสงฆ์ ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชนในพื้นที่ จำนวน 30 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูล และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. พระพุทธรูปไม้มีขึ้นโดยความเคารพศรัทธาของชาวพุทธในชุมชนตำบลสวนจิก ซึ่งการสร้างได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย พัฒนาการของไม้ที่นำมาใช้แกะสลัก เดิมทีจะนิยมใช้ไม้ที่มีชื่อเป็นมงคล ในปัจจุบันจะนิยมใช้ไม้ที่มีอยู่ทั่วไป ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีแก่นสามารถนำมาแกะสลักได้ ในการแกะสลักพบว่า มีรูปแบบปางต่างๆ มากขึ้น
2. เกณฑ์ตัดสินความงามทางสุนทรียศาสตร์ มี 3 ทฤษฎี คือ 1) ทฤษฎีวัตถุนิยม ซึ่งเชื่อว่าความงามแท้จริงมีอยู่ในตัววัตถุไม่เกี่ยวกับจิต 2) ทฤษฎีแบบจิตนิยม ซึ่งเชื่อว่าความงามเป็นคุณสมบัติของจิตไม่ใช่วัตถุ 3) ทฤษฎีสัมพัทธ์นิยม มีความเชื่ออยู่กึ่งกลางระหว่างทฤษฎีวัตถุนิยมและจิตนิยม และที่สำคัญต้องประกอบกับความเชื่อด้านศาสนาและวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ
3. พระพุทธรูปไม้ในตำบลสวนจิก มีความงามภายในด้านของคุณค่าและวัตถุที่ก่อเกิดเป็นแรงศรัทธาของชาวพุทธในชุมชน หากนำหลักทฤษฎีสัมพัทธนิยม มาใช้เพื่อวิเคราะห์ความงามภายนอก พบว่า เป็นลักษณะพระพุทธรูปไม้ที่มีลักษณะพิเศษ หากวิเคราะห์ความงามภายใน ก็พบว่า พระพุทธรูปไม้ถูกปลูกฝั่งไว้ให้เป็นสิ่งเคารพบูชา เป็นความเชื่อด้านศาสนาและวัฒนธรรมซึ่งเป็นบริบทเดิมของชุมชน ถือว่าเป็นชุมชนที่มีความเชื่อและเคารพศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
References
กรมการศาสนา. (2525). ประวัติพุทธรูปปางต่างๆ. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ.
กรมพระดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ. (2469). ตำนานพุทธเจดีย์สยาม. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร.
กานต์ กาญจนพิมาย. (2553). การศึกษาวิเคราะห์พระพุทธรูปไม้อีสานเชิงปรัชญา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิราศ ศรีขาวรส. (2558). พระพุทธรูปไม้: สุนทรียภาพและความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนในเมืองหลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(2), 17-40.
พระใบฎีกานรินทร์ สีลเตโช. (2565). ความงามของพระพุทธรูปไม้ตามหลักสุนทรียศาสตร. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6(1), 240-253.
พระมหาปพน กตสาโร. (2560). พระพุทธรูปไม้: คุณค่าและคติธรรมของคนอีสาน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(2), 99-113.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2546). ศิลปะชาวบ้าน Folk art. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
สถิต วงศ์สวรรค์. (2540). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.