การศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมในประเพณีข้าวสากของชาว ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • พระอธิการอินทรภพ สีลเตโช (ปรางทอง) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูสีลสราธิคุณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สงวน หล้าโพนทัน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

บุญข้าวสาก, หลักธรรม, ชาวตำบลดงลิง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติและพัฒนาการของประเพณีบุญข้าวสากในบริบทสังคมอีสาน 2) ศึกษาประเพณีการทำบุญข้าวสากของชาวตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 3) วิเคราะห์หลักพุทธธรรมในประเพณีบุญข้าวสากในตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระสงฆ์ นักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทำพิธี ผู้นำชุมชน ชาวบ้านทั่วไป รวมทั้งสิ้น 26 คน ศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือวิจัยคือการสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประวัติและพัฒนาการของประเพณีบุญข้าวสากในบริบทสังคมอีสาน พบว่า บุญข้าวสากเกิดจากพิธีของพราหมณ์ ต่อมาเมื่อเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาก็นำแนวคิดเดิมมาผสมผสานเข้ากับแนวคิดของพระพุทธศาสนา เมื่อเผยแพร่ถึงภาคอีสานของไทย ก็ได้รับเอาความเชื่อนี้ไว้และเป็นประเพณีที่สำคัญยิ่ง
2. ประเพณีการทำบุญข้าวสากของชาวตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า บุญข้าวสากหรือบุญเดือน 10 มีความเชื่อว่า ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันที่ยมบาลเปิดประตูนรกให้สัตว์นรกได้มารับส่วนบุญกุศลจากญาติที่อยู่ในโลกมนุษย์ ตั้งแต่เที่ยงคืนถึงวันขึ้น 14 ค่ำ ไปจนถึงเที่ยงคืนวันขึ้น 15 ค่ำ เมื่อพวกสัตว์นรกมารับส่วนบุญแล้วจะอวยพรให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุข
3. หลักธรรมในประเพณีบุญข้าวสากในตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีบุญข้าวสากของชาวตำบลดงลิงมีอยู่ 4 ประการ ได้แก่ การระลึกถึงความดีที่บรรพบุรุษได้ทำแก่ตน แล้วทำตอบแทน (กตัญญูกตเวที), ทำบุญด้วยการแบ่งปันอาหารประเภทต่างๆ (ทาน) สำรวมกาย วาจา ใจ (ศีล) ทำจิตใจให้สงบตั้งมั่นขณะทำบุญและฟังธรรม (ภาวนา)

References

กรมศิลปากร. (2566). ฮีตที่ 10 บุญข้าวสากหรือบุญเดือนสิบ. เข้าถึงได้จาก http//www.nectec.or.th/scoolnet/library/webcontest/2003/100team/dlnes060/heet10

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). บุญข้าวสาก ประเพเณีสำคัญหนึ่งในวัน “สารทไทย” ของชาวอิสาน. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/896391

พระครูโกวิทสุตาภรณ์ (สมดี โกวิโท). (2564). บุญข้าวสากกับการสร้างอัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 4(2), 28-39.

พระครูใบฎีกาเฉลิมพล อริยวํโส (คำเชื้อ). (2544). การศึกษาวิเคราะห์ปุพพเปตพลีที่ปรากในคัมภีร์ใบลานล้านนา กรณีศึกษา คัมภีร์ศึกษาคัมภีร์เปตพลีฉบับวัดหลวงราชสัณฐาน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุพจน์ คำน้อย. (2553). ศึกษาเกี่ยวกับคำสอนเรื่องการอุทิศส่วนบุญในพระพุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการช่วง ฐิตโสภโณ (ตั้งอยู่). (2544). ศึกษาคติทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในประเพณีสารทเดือนสิบ (แซนโฏนตา) ของจังหวัดสุรินทร์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยโส โฮแซว. (2566). ฮีตสิบสอง. เข้าถึงได้จาก https//yasosaew.woedpress.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)