การศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธจริยศาสตร์ในการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชนในตำบลสีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

พระศิวพล หิตกาโม (บุญโท)
โสวิทย์ บำรุงภักดิ์
พระครูสีลสราธิคุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชนชุมชนตำบลสีแก้ว 2) ศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์และสามารถนำความรู้ไปใช้เพื่อให้รู้เท่าทันในการใช้สื่อออนไลน์ 3) วิเคราะห์ความรู้ให้รู้เท่าทันต่อการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชนในชุมชนบ้านสีแก้ว ตำบลสีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ตามหลักพุทธจริยศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก เอกสารทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือวิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชนชุมชนตำบลสีแก้ว พบว่า เยาวชนในชุมชนตำบลสีแก้ว มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในชีวิตประจำวัน มีอิทธิพลต่อความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมของเยาวชนเป็นอย่างมาก ใช้อย่างมีสติ ให้เกิดประโยชน์สุขต่อตนเองและส่วนรวม
2. หลักพุทธจริยศาสตร์และสามารถนำความรู้ไปใช้เพื่อให้รู้เท่าทันในการใช้สื่อออนไลน์ พบว่าหลักพุทธจริยศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการรู้เท่าทันในการใช้สื่อออนไลน์ ซึ่งประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ-ความระลึกได้และความรู้ตัว หิริโอตตัปปะ-ความละอายแก่ใจและความเกรงกลัวต่อบาป โยนิโสมนสิการ-พิจารณาอย่างรอบคอบ รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ เป็นต้น
3. วิเคราะห์ความรู้ให้รู้เท่าทันต่อการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชนในชุมชนบ้านสีแก้ว พบว่า สื่อสังคมออนไลน์ทำให้เยาวชนชุมชนตำบลสีแก้วเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมและแนวคิดใหม่ๆ สื่อออนไลน์มีทั้งด้านลบ เช่น เล่นพนันออนไลน์ ขายสิ่งผิดกฎหมาย และด้านบวกเป็นผลดีต่อเยาวชนคือ นำองค์ความรู้จากสื่อออนไลน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น เรียนออนไลน์ ขายของออนไลน์ ทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมสุขภาพจิต. (2564). 6 สัญญาณ ที่บอกว่าลูกกำลังเสพติดสื่อออนไลน์. เข้าถึงได้จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30815

ณชัยศักดิ์ จุณณะปิยะ. (2566). การตลาดสื่อสังคมออนไลน์. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 11(1), 64-76.

ณัฐ จันทร์หนูหงส์. (2562). แนวทางการปลูกฝังหิริโอตตัปปะเพื่อการแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าว ของเด็กและเยาวชนในโรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยสังคมสาร (มสส.), 17(3), 215-233.

เทศบาลตำบลสีแก้ว. (2566). ประวัติและข้อมูลสภาพทั่วไป. เข้าถึงได้จาก https://www.sikaew.go.th/index/?page=newarticle47315086

ธนัท อู๊ดน้อย. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดตามหลักโยนิโสมนสิการเรื่องแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และปัญหาสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการสร้างศรัทธา และโยนิโสมนสิการ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระจักรี คเวสโก (ดีวงษา). (2566). การวิเคราะห์การเผยแผ่ธรรมะยุคดิจิทัลตามหลักประโยชน์นิยมในทางจริยศาสตร์. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 8(2), 73-83.

พระมหาสุเทิด มหิทฺธิโก (เทียรวรรณ). (2560). ศึกษาสติและสัมปชัญญะในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วฤตดา วรอาคม. (2566). 5 อินไซด์เจเนอเรชั่นซี. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/591770

วศิน ประดิษฐศิลป์. (2556). นวัตกรรมทางวิธีคิดเพื่อการสื่อสารศาสนาของพระไพศาล วิสาโล. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วศิน เพิ่มทรัพย์. (2559). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.