หลักพุทธธรรมและธรรมาภิบาลในการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อชุมชนในตำบลปงน้อย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ชาญชัย ฤทธิร่วม
โกมินทร์ วังอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์หลักพุทธธรรมในการนำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อชุมชน และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อชุมชน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้มีอำนาจทำการแทน สมาชิกวิสาหกิจชุมชน ประธานกลุ่มอาชีพ ผู้ประกอบการ ตัวแทนผู้ประกอบการ จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 
1. หลักพุทธธรรมในการนำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อชุมชน พบว่า หลักพรหมวิหาร 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.22) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านมุทิตา กรุณา เมตตา และอุเบกขา ส่วนหลักธรรมาภิบาล 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.15) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ หลักความคุ้มค่า หลักการมีส่วนร่วม หลักการมีส่วนรับผิดชอบ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม และหลักความโปร่งใส ในการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อชุมชน จำเป็นต้องมีความเป็นผู้นำ มีความสามารถในการบริหารจัดการงานและบริหารคนในกิจการ มีหลักพุทธธรรมในการยึดเหนี่ยวจิตใจนำมาประยุกต์ใช้ในการปกครองด้วยความเป็นธรรม สร้างขวัญกำลังใจในการทำงานให้กับสมาชิก และการเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อชุมชน พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง 0.67 ถึง 0.77 สัมพันธ์สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งตัวแปรพรหมวิหาร 4 (FSM)  มีความสัมพันธ์กับการเป็นผู้ประกอบการเพื่อชุมชน (SE) มากที่สุด โดยค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.77 รองลงมาคือ ธรรมาภิบาล 6 (GG) มีความสัมพันธ์กับการเป็นผู้ประกอบการเพื่อชุมชน (SE) มีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.67 ทำให้ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม โดยอาศัยหลักพุทธธรรม เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนเติบโตมีความเข้มแข็งและยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2565). ความเป็นมาหน้าที่ความรับผิดชอบ. เข้าถึงได้จาก https://smce.doae.go.th/about-us/history

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2566). รายชื่อวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน. เข้าถึงได้จาก https://smce.doae.go.th/search

กัสมา กาซ้อน. (2566). การวิจัยทางการบัญชี. เชียงราย: คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

จุฑามาส ชมผา และไวกูณฐ์ ครองยุทธ. (2566). วิสาหกิจชุมชนกับการแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดอุบลราชธานี กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวเม่าบ้านคําไหล อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(6), 525-540.

ไทยรัฐออนไลน์. (2564). พรหมวิหาร 4 ธรรมะสำหรับผู้นำ และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2112730

นวรัตน์ ไวชมภู และรพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ. (2560). วิถีครองคน: พรหมวิหาร 4 สำหรับผู้บริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 105-113.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระมหาสหัส ฐิตสาโร. (2561). หลักธรรมสำหรับนักบริหาร. (สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุชาติ วรปญฺโญ และคณะ. (2561). การประยุกต์ใช้พรหมวิหาร 4 เพื่อการพัฒนาสังคมบ้านหันเทาตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์, 2(2), 1-10.

มาลินี สวยค้าข้าว. (2565). หลักการบริหารองค์การโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา: ครองตน ครองคน ครองงาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

วราธัช ตันติวรวงศ์, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ และศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ. (2558). การนำเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะธรรมาภิบาลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารครุศาสตร์, 43(4), 63-78.

ศราวุฒิ ดาวกรงแก้ว และคณะ. (2564). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานสำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 147-159.

สมยศ ปัญญามาก, พิงพร ศรีแก้ว และจิราภรณ์ คล้อยปาน. (2559). วิสาหกิจชุมชนกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 1(1), 73-88.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

องค์การบริหารส่วนตำบลปงน้อย. (2566). ข้อมูลทั่วไป/สภาพตำบล. เข้าถึงได้จาก https://www.pongnoi.com/?page=main&id=1

อานุรักษ์ สาแก้ว และ พระครูวรวรรณวิฑูรย์. (2564). โมเดลประสิทธิผลเชิงพุทธวิธีในการพัฒนาองค์กรธุรกิจไทยอย่างยั่งยืน. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 10(3), 239-249.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.