แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

Main Article Content

วัชรินทร์ โสภักดี
กุหลาบ ปุริสาร
วิเชียร ชิวพิมาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน รวม 450 คน ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยทำการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น โดยใช้วิธี Priority Needs Index (PNI modified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNI modified = 0.1758 เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมีความยืดหยุ่น มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมาด้านวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการมีจินตนาการ และด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ตามลำดับ
2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีทั้งหมด 46 แนวทาง ได้แก่ 1) วิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ มี 9 แนวทาง 2) การมีจินตนาการ มี 9 แนวทาง 3) การมีความคิดสร้างสรรค์ มี 12 แนวทาง 4) การมีความยืดหยุ่น มี 10 แนวทาง และ 5) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล มี 6 แนวทาง ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กิตติกร ธรรมกิจวัฒน์. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จุฑามาส ซุ่นหวน. (2562). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดสภาพแวดล้อม ในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ธนชัย จุ่นหัวโทน. (2566). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิรดา แพงไทย และคณะ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(7), 3299-3313.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

DuBrin, A. J. (2010). Principles of Leadership. (6th ed.). Mason, OH: South-Western Cengage Learning.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Robinson, K. (2007). Ken Robinson on the Principles of Creative Leadership. Retrieved from http: //www.fastcompany.com/1764044/ken-robinsonprinciples-creative-leadership

Sternberg, R. J. (2006). The Nature of Creativity. Creativity Research Journal, 18(1), 87-98.

Zhang, Q. (2016). Creative leadership strategies for primary school principles to promote teachers’ creativity in guangxi China. Kasetsart Journal of Social Sciences, 41(2), 275-281.