คุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ชุมชนวัดศรีบูรณาวาส ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, แรงงานต่างด้าว, การจ้างงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ชุมชนวัดศรีบูรณาวาส ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และ 2) พัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ชุมชนวัดศรีบูรณาวาส ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ แรงงานต่างด้าวในชุมชนวัดศรีบูรณาวาส ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร มีจำนวน 176 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test ในการเปรียบเทียบระหว่างตัวแปร และค่าสถิติ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ชุมชนวัดศรีบูรณาวาส พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.18, S.D. = 1.00) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคลอื่นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน สภาพการทำงาน ด้านสิทธิส่วนบุคคลในสถานทำงาน ค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ ด้านจังหวะชีวิต ด้านโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถตนเอง ตามลำดับ 2. พัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ชุมชนวัดศรีบูรณาวาส พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน มีคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกัน เมื่ออาศัยอยู่ชุมชนวัดศรีบูรณาวาส ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร แตกต่างกันReferences
กันยา ศรีสวัสดิ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารแรงงานอพยพสัญชาติพม่าของผู้ประกอบการไทยในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 2(2), 167-179.
ธนิสา ทวิชศรี, ศุภนิจ ปิยะพรมดี และนฎา วะสี. (2567). ค่าจ้างขั้นต่ำ การจ้างงาน อำนาจตลาด และการเติบโตของธุรกิจขนาดใหญ่. เข้าถึงได้จาก https://www.pier.or.th/abridged/2024/01/
เนติวัฒน์ รัตนวรรณ์ และปริญญาภรณ์ พจน์อริยะ. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อการจัดการคุณภาพชีวิตของพนักงานธนาคารกรุงไทยเขตพื้นที่ 5 จังหวัด. เข้าถึงได้จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). (2565). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง.
พิมณฒ์ทิพย์ อุบลจินดา และคณะ. (2566). การขาดแคลนแรงงานและความจำเป็นการใช้แรงงานต่างด้าวในประเทศไทย. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 14, 19 พฤษภาคม 2566, (หน้า 1163-1176). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
พิมพ์ชนก บุลยเลิศ. (2551). แรงงานต่างด้าวในภาคธุรกิจก่อสร้างในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พีรพล จิรปฐมสกุล. (2563). กระบวนการทางจิตวิทยาในการย้ายถิ่นของคนเมืองกรุงสู่ชนบท. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภัทรวุธ เภอแสละ. (2563). การพัฒนากระบวนการการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตามระบบ MOU รายงานการศึกษาส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2544). รายวิชา SO243 ประชากรศาสตร์ (Demography (SO 260)). เข้าถึงได้จาก http://old-book.ru.ac.th/ebook/inside/html/dlbook.asp?code=SO243
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA). (2556). สภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยให้การลักลอบเดินทางข้ามพรมแดน. เข้าถึงได้จาก http://library1.nida.ac.th/termpaper6/lang/2556/20023.pdf
อุทัย เสียงแจ่ม. (2553). คุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานต่างด้าวในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
MGROnline. (2566). ล่าขุมทรัพย์ 1.2 ล้านล้านบาท ตลาดแรงงานเมียนมาในไทย. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/daily/detail/9660000099130
Walton, R. E. (1973). Quality of working life: What is it?. Slone Management Review, 15(1), 12-18.