องค์ประกอบของพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

Main Article Content

ปภากร สุวรรณธาดา
ชิษณุพงศ์ ทองพวง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโครงสร้างเชิงองค์ประกอบพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 316 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการวิจัยแสดงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) พฤติกรรมการสำรวจค้นหาความคิด 2) พฤติกรรมการก่อเกิดความคิด 3) พฤติกรรมการทำให้ความคิดเป็นที่ยอมรับ และ 4) พฤติกรรมการนำความคิดลงสู่การปฏิบัติ
2. ผลการตรวจเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโครงสร้างเชิงองค์ประกอบของพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าวัดระดับความกลมกลืน คือ Chi-square (χ2) = 355.157, df = 301, χ2/df (CMIN/DF) = 1.30, RMR = 0.03, RMSEA = 0.91, GFI = 0.992, AGFI = 0.90 และ CFI = 0.99 แสดงว่ารูปแบบโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบของพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเชิงยืนยันมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.). (2565). โครงสร้างองค์กรฝ่ายทรัพยากรบุคคลการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก http:www.intranet.egat.co.th

_______. (2565). รายงานประจำปี พ.ศ. 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.egat.co.th/images/businessop/annual-report/2564/annual-report-64-th.pdf

กุลชลี จงเจริญ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. เข้าถึงได้จาก https://thaitgri.org/?p=36172

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2557). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(2), 136-145.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2564). คู่มือการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ. เข้าถึงได้จาก http://www.sepo.go.th/pes/contents/27

Bos-Nehles, A. C., Renkema, M., & Janssen, M. (2017). HRM and innovative work behaviour: A systematic literature review. Personnel Review, 46(7), 1228-1253.

De Jong, J. P., & Den Hartog, D. N. (2007). How leaders influence employees’ innovative behavior. European Journal of Innovation Management, 10(1), 41-64.

_______. (2008). Innovative work behavior: Measurement and validation. Retrieved from http://ondernemerschap.panteia.nl/pdf-ez/h200820.pdf

_______. (2010). Measuring Innovative Work Behaviors. Creativity and Innovation Management, 19(1), 23-36.

Dörner, N. (2012). Innovative Work Behavior: The Roles of Employee Expectations and Effects on Job Performance. (Doctor of Philosophy Dissertation). Switzerland: University of St. Gallen.

Hall, L. M. (2003). Nursing staff mix models and outcomes. Journal of Advanced Nursing, 44(2), 217-226.

Hooper, D., Coughlan, J., & Mullen, M. R. (2008). Structural Equation Modelling: Guidelines for Determining Model Fit. The Electronic Journal of Business Research Methods, 6, 53-60.

Likert, R. (1976). New Ways of Management conflict. New York: McGraw-Hill.

Middelkoop, C. (2016). How does innovative work behavior of employee effect their individual job performance. (Master thesis). Netherlands: University of twenty, Netherlands.

Nasir, S., et al. (2013). Modern entrepreneurship and E-business innovations. USA: IGI Global.

Needleman, J., et al. (2002). Nurse-staffing levels and the quality of care in hospitals. New England Journal of Medicine, 346(22), 1715-1722.

Yamane, T. (1973). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & row.