ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ทักษะ, ผู้บริหารสถานศึกษา, ปาปณิกธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น 2) เสนอแนวทางการส่งเสริมทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 289 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 12 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน มีระดับการปฏิบัติการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ ด้านทักษะการบริหารจัดการองค์กรด้านทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล ด้านทักษะการสื่อสาร และด้านทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ 2. แนวทางการส่งเสริมทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักปาปณิกธรรม 3 ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านทักษะการสื่อสาร ควรส่งเสริมการสื่อสารในการกำหนดวิสัยทัศน์ และให้มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน ด้านทักษะการบริหารจัดการองค์กร ควรส่งเสริมการตัดสินใจที่ดี มีมนุษย์สัมพันธ์ การแก้ปัญหาตรงจุด ในการบริหารงานบุคคล/ทรัพย์สิน งบประมาณ ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์การคิดสร้างสรรค์ ควรส่งเสริมการแก้ไขปัญหานำพาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ด้านเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล ควรส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และด้านทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ควรส่งเสริมให้ผู้บริหารถ่ายทอดเทคนิคการทำงานเป็นทีมReferences
กณิษฐา ทองสมุทร. (2561). ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (และแก้ไขเพิ่มเติม 2545, 2553). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2554). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
พรทิพย์ สุขเอียด. (2562). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุวัฒน์ กู้เกียรติกาญจน์ และวิชิต แสงสว่าง. (2564). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 68-80.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activity. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.