ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ปรมินทร์ สีจันทร์ฮด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • เกษม แสงนนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • สัมฤทธิ์ กางเพ็ง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยการบริหาร, การประกันคุณภาพการศึกษา, หลักอิทธิบาท 4

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพนัสนิคม 2)  ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพนัสนิคม และ 3) ศึกษาอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อปัจจัยการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณกับคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 152 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 12 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน   
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพนัสนิคม พบว่า 1) ปัจจัยด้านผู้บริหารและนโยบาย 2) ปัจจัยด้านบริหารจัดการ 3) ปัจจัยด้านบุคลากร 4) ปัจจัยด้านทรัพยากรและสิ่งสนับสนุน 5) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ทั้ง 5 ปัจจัยมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด
2. ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวมและรายด้าน มีระดับความคิดเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ปัจจัยด้านทรัพยากรและสิ่งสนับสนุน ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยด้านบริหารจัดการ และปัจจัยด้านผู้บริหารและนโยบาย ตามลำดับ
3. อิทธิบาท 4 ส่งผลต่อปัจจัยการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพนัสนิคม 4 ปัจจัยคือ 1) ผู้บริหารและการกำหนดนโยบาย 2) การบริหารจัดการ 3) บุคลากรประกันคุณภาพการศึกษา 4) วัฒนธรรมองค์กร

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

_______. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2561). คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

ณัฐชยา บำรุงเวช และคณะ. (2561). การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา: ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในสังกัดกลุ่มอัมพวา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 7(1), 1-9.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

_______. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

พระมหาบรรจง ติสรโณ (ศรีสุข). (2560). ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรม 4 ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนปริยัติคุณรสวิทยา อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. (2562). คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ (ก.พ.ป.). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)