แนวทางการจัดการองค์กรคณะสงฆ์ในประเทศไทย ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคัญ:
การจัดการคณะสงฆ์, ประสิทธิผล, เศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิผลของการดำเนินภารกิจคณะสงฆ์ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะขององค์กรคณะสงฆ์ 2) ศึกษาปัจจัยการจัดการองค์กรคณะสงฆ์ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการดำเนินภารกิจคณะสงฆ์ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) วิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการจัดการองค์กรคณะสงฆ์ในประเทศไทยภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มองค์กรคณะสงค์ในประเทศไทย จำนวน 400 วัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t- test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบ One way ANOVA) และ Multiple regression analysis การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์แนวทางใช้หลักการวิเคราะห์ SWOT Analysis
ผลการวิจัยพบว่า
1. การเปรียบเทียบประสิทธิผลของภารกิจคณะสงฆ์ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะขององค์กรคณะสงฆ์ พบว่า ด้านจำนวนพระสงฆ์และสามเณรภายในวัด แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ปัจจัยการจัดการองค์กรคณะสงฆ์ พบว่า ด้านการสั่งการ ด้านการประสานงาน และด้านการควบคุม ส่งผลต่อประสิทธิผลของภารกิจคณะสงฆ์ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวม ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. แนวทางการจัดการองค์กรคณะสงฆ์ในประเทศไทยภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีทั้งหมด 4 แนว ได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลี การพัฒนารูปแบบการควบคุมงบประมาณในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอย่างพอประมาณ ส่งเสริมการฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และการพัฒนาบูรณาการดำเนินงานตามภารกิจของคณะสงฆ์
References
กรมการศาสนา. (2560). แผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2565). กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.
ปริญญา สิริอัตตะกุล. (2555). การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว:การวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 1(1), 13-23.
พระครูปลัดอภิชาติ สุวณฺณโชโต (ทรงกิจ วิศวการ). (2558). รูปแบบการบริหารกิจการคณะสงฆ์ที่ดีในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสันติธรรมาภิรัต (บุญชัย สนฺติกโร). (2557). การพัฒนารูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาจรัญ ภูริโกวิโท (พรมเลิศ). (2562). แนวทางการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ จังหวัดนนทบุรีเชิงพุทธบูรณาการ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาปรีชา เขมนนฺโท (เหล่าทวีคุณ). (2561). การประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาศรณชัย มหาปุญฺโญ. (2556). การพัฒนาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในยุคโลกาภิวัตน์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอัครพงษ์ พูลผล. (2561). แนวทางการพัฒนาการบริหารกิจการคณะสงฆ์สังกัดมหานิกาย: กรณีศึกษาการบริหารของเจ้าอาวาสของวัดในจังหวัดชุมพร. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2566). การพัฒนาองค์การไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. เข้าถึงได้จาก https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/1049/iid/45486
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Educational Administration. (8th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Fayol, H. (1916). General and industrial management. London: Sir Isaac Pitman and Son.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.